สภาพัฒนาการเมือง และ กองทุนพัฒนาการเมือง
สภาพัฒนาการเมือง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการเมืองของประเทศเป็นอย่างมาก โดยให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาการเมืองของประเทศเพื่อให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บัญญัติเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองหลายประการ ประกอบด้วย
หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๔ แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยในมาตรา ๗๘ ได้กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยใน (๗) ได้กำหนดให้รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง รวมทั้งจัดให้มีสภาพัฒนาการเมืองที่มีความเป็นอิสระ เพื่อติดตามสอดส่องให้มีการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนที่ ๑๐ สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน โดยในมาตรา ๕๗ วรรค ๒ ได้กำหนดให้การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ
หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๑๐ แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยในมาตรา ๘๗ ได้กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยใน (๔) ได้กำหนดให้ “ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และจัดให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
วัตถุประสงค์การจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง
1. จัดทำแผนพัฒนาการเมือง รวมทั้งการดำเนินการต่อไปนี้
ก. จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีภายใต้แผนพัฒนาการเมือง รวมทั้งงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามแผน
ข. ติดตามสอดส่องและประสานงานกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาสังคม และองค์กรต่างประเทศ เพื่อให้มีการนำแผนพัฒนาการเมืองสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเคร่งครัด
ค. ประสานการดำเนินงาน ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามแผนพัฒนาการเมือง
2. เสริมสร้างวัฒนธรรมอันดีทางการเมือง วิถีชีวิตประชาธิปไตย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. ส่งเสริมและพัฒนาการเมืองในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันการเมืองและสถาบันทางการปกครอง รวมทั้งดำเนินการต่อไปนี้
ก. ส่งเสริมการพัฒนาศีลธรรม คุณธรรมและจริยธรรม และประสานงานกับผู้ตรวจการแผ่นดิน สถาบันการเมือง องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรมให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
ข. ประสานให้สถาบันการเมือง ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ เห็นความสำคัญและร่วมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการต่างๆ ของหน่วยงานดังกล่าว
4. ส่งเสริมและพัฒนาให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง รวมทั้งการดำเนินการต่อไปนี้
ก. สนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมให้เกิดความเข้มแข็ง
ข. ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชนและภาคพลเมือง ในการเผยแพร่และจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ค. เผยแพร่ส่งเสริมจิตสำนึกความเป็นพลเมือง สิทธิ และหน้าที่ของพลเมืองตลอดจนการเรียนรู้ของประชาชน ชุมชนและเครือข่ายในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติ
ง. ส่งเสริมให้ความช่วยเหลือประชาชน ชุมชนและองค์กรภาคประชาสังคม ให้สามารถใช้สิทธิตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ทั้งในการรับทราบและเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การวางแผนด้านต่างๆ ทั้งระดับชาติและท้องถิ่น การตัดสินใจทางการเมือง การจัดทำบริการสาธารณะและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
มาตรา ๓๑ ให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองขึ้นในสถาบันเพื่อช่วยเหลือกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
มาตรา ๓๒ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุน มีหน้าที่บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบตามมาตรา ๖ (๕) (ก) ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารสำนักงานตามมาตรา ๒๕ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้เชี่ยวชาญทางการเงินบัญชีหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิทางการพัฒนาสังคมหรือชุมชนหนึ่งคน และให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๓๓ การใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามมาตรา ๓๑ ให้คำนึงถึงกิจกรรมที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) กิจกรรมที่มีลักษณะการดำเนินงานที่เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง การพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตย และสถาบันทางการเมือง รวมทั้งสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) กิจกรรมที่เป็นการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความตระหนัก ถึงความสำคัญของการเมือง สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของประชาชนที่พึงมีภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๓) กิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของประชาชน ชุมชน หรือองค์กร ภาคประชาสังคม โดยเฉพาะบทบาทของประชาชน ชุมชน หรือองค์กรภาคประชาสังคมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น
รัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้อง
รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พศ ๒๕๕๐ ยกตัวอย่าง บางมาตราที่สำคัญ ต่อสิทธิหน้าที่ เสรีภาพของประชาชน สิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐
เชื่อมโยงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาค หากคนเรามองคนเป็นคนเหมือนกันและมองว่าคนทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนกันแล้ว การปฏิบัติต่อกันก็จะเป็นไปในลักษณะที่มีการเคารพในสิทธิ ความเสมอภาคและไม่มีการเลือกปฏิบัติหากจะเลือกปฏิบัติก็เป็นการเลือกปฏิบัติที่เป็นธรรมหรือเป็นคุณต่อผู้ด้อยโอกาสกว่าเท่านั้น เรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญที่แทรกอยู่ในทุกที่ของสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มีบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยอยู่ ๔๒ มาตรา (มาตรา ๒๖ – มาตรา ๖๘) โดยมีสาระสำคัญ ที่ประชาชนทั่วไปควรรู้ ดังนี้
สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
- ถ้ามีการกระทำที่ละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกาย ผู้เสียหาย พนักงานอัยการ หรือบุคคลอื่นใด มีสิทธิร้องต่อศาลให้หยุดการกระทำนั้น และต้องเยียวยาความเสียหายด้วย
สิทธิส่วนบุคคล (มาตรา ๓๕)
สิทธิในทรัพย์สิน
- ห้ามเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ยกเว้นเฉพาะเพื่อสาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การผังเมือง การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตรหรืออุตสาหกรรม การปฏิรูปที่ดิน การอนุรักษ์โบราณสถาน
- กฎหมายเวนคืนต้องกำหนดวัตถุประสงค์และระยะเวลาการเข้าใช้ อสังหาริมทรัพย์ถ้าไม่ได้ใช้ตามกำหนด ต้องคืนเจ้าของเดิม
สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
- ทุกคนมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงาน มีหลักประกันในการดำรงชีพ ในระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นการทำงาน
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน
- ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นส่วนในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมไม่ได้
- การจัดสรรคลื่นความถี่ของวิทยุและโทรทัศน์ต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม (20% ที่เป็นของกลุ่ม ไม่มีโฆษณา)
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา (มตรา ๔๙)
- รัฐต้องส่งเสริมและคุ้มครอง การจัดการศึกษาขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ตลอดชีวิต
สิทธิได้รับความคุ้มครองจากความรุนแรง (มาตรา ๕๒)
- เด็ก เยาวชนและบุคคลในครอบครัวได้รับความคุ้มครองจากรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หากเกิดขึ้นมีสิทธิได้รับการบำบัดฟื้นฟู
- เด็กและเยาวชนมีสิทธิอยู่รอด ได้รับการพัฒนาทุกด้านตามศักยภาพโดยเด็กเยาวชนต้องมีส่วนร่วมสำหรับเด็กเยาวชนที่ไม่มีคนดูแล รัฐต้องเลี้ยงดู ให้การศึกษาและอบรม
สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน
สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (มาตรา ๕๖,๕๗)
-ก่อนการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมสุขภาพหรือประโยชน์อื่นของประชาชน รัฐต้องให้เหตุผลหรือข้อมูลกับประชาชน
-บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น
เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม
สิทธิชุมชน
-ทุกคนมีสิทธิร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
มาตรา ๘๗ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังต่อไปนี้ (๔) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และจัดให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
(๕) ส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขรวมทั่งส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
การมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรานี้ต้องคำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายทีใกล้เคียงกัน
การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน
-ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง
ก่อนการออกเสียงประชามติ รัฐต้องดำเนินการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอทุกด้าน
ที่มา คู่มือการใช้ภาพพลิก “อพม.” โดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๒๗๐ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้
ความจริงระบอบประชาธิปไตย โดย พล พลพนาธรรม
สาระสำคัญ
ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองและวิธีการดำเนินชีวิต ซึ่งยึดหลักของความเสมอภาค เสรีภาพ และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือว่า ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน และอำนาจอธิปไตยต้องมาจากปวงชน
ความหมายของประชาธิปไตย
1.ความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า Democratia ซึ่งประกอบด้วยคำ 2 คำ คือDemos กับ kratein คำว่า Demos หมายถึง ประชาชน และ Kratein หมายถึง การปกครอง ฉะนั้นประชาธิปไตย (Demoskratia) จึงหมายถึง ประชาชนปกครอง หรือการปกครองโดยประชาชน
2.ความหมายที่เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค นักปรัชญาการเมืองหลายท่านที่ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการปกครองที่ดีก็คือ การปกครองที่เคารพสิทธิ และความเสมอภาคของมนุษย์ เชื่อว่าสมาชิกของสังคมทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมโดยส่วนรวม นอกจากนี้ระบบการเมืองจะต้องเปิดโอกาส หรือให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการดำเนินการใดๆ ภายใต้กฎระเบียบของสังคมด้วย ซึ่งรูปแบบการปกครองดังกล่าว ก็คือระบอบประชาธิปไตย
3.ความหมายที่เน้นการเข้ามีส่วนร่วมหรือเสียงของประชาชน ในเมื่อระบอบประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับประชาชนในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ใช้อำนาจนี้ผ่านทางองค์กรทางการเมืองต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขของตนเอง บาทบาทของประชาชนในทางการเมือง จึงมีความสำคัญมาก จนมีผู้กล่าวว่า ประชาธิปไตยนั้นถือว่าประชาชน คือ เสียงสวรรค์ เป็นระบอบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมดำเนินการเพื่อสร้างสรรค์สังคมของตนเอง กิจกรรมการเข้าร่วมทางการเมืองของประชาชน อาจเป็นทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์เข้าไปทำหน้าที่แทน หรืออาจเป็นทางตรง เช่นการประท้วง การร้องเรียน ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้รัฐบาลรับทราบถึงปัญหา เป็นต้น
4.ความหมายที่เน้นเจตนารมณ์ของประชาชน ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น แห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้ความหมายของคำว่าประชาธิปไตยไว้อย่างกระชับและคมคายว่า เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยนั้น ผู้นำทางการเมืองเป็นผู้ที่ถือเสมือนเป็นตัวแทนเจตนารมณ์ของประชาชน รัฐบาลเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก หรือได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่
5.ความหมายตามที่มาและขอบเขตอำนาจ มีผู้ให้ความหมายของประชาธิปไตยไว้ว่า อำนาจสูงสุดมาจากประชาชน ทั้งนี้โดยอ้างว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมมีสิทธิและเสรีภาพ โดยธรรมชาติ พวกเขาสามารถที่จะคิดและกระทำการใดๆ ได้ แต่เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคม เขาจะสละสิทธิ์และอำนาจบางประการให้กับผู้ปกครอง เพื่อใช้อำนาจนั้นดำเนินการภายในกรอบที่กำหนด
จากความหมายอันหลากหลายของคำว่า ประชาธิปไตย นี้ จึงอาจสรุปความหมายหลักได้ ๓ ประการ คือ
ก.ความหมายในเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง
ข.ความหมายในเชิงรูปแบบการปกครอง
ค.ความหมายในเชิงวิถีวิชีวิตของประชาชน
ก. ความหมายในเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง
อุดมการณ์ทางการเมือง คือ ระบบความคิดทางการเมืองอย่างหนึ่ง อุดมการณ์ประชาธิปไตยเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นระบบความคิดทางการเมืองชนิดหนึ่ง ที่ให้ความสำคัญกับหลักการ 3 ประการ
1.หลักมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา รู้จักใช้เหตุผล รู้ดีรู้ชั่ว และสามารถปกครองตนเองได้
2.หลักสิทธิ เสรีภาพ คำว่า สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรม เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระที่จะกระทำการใดๆ ได้ แต่การใช้เสรีภาพจะต้องไม่ไปละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นด้วย เสรีภาพในสังคมประชาธิปไตยมีขอบเขตจำกัดในระดับหนึ่ง สิ่งที่จะมาเป็นตัวจำกัดเสรีภาพคือ กฎหมาย ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียม ประเพณี
เสรีภาพขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยอาจจำแนกได้ดังต่อไปนี้
2.4) สิทธิและเสรีภาพอื่นๆ นอกจากสิทธิและเสรีภาพข้างต้นแล้ว อุดมการณ์ประชาธิปไตยยังให้ความสำคัญกับสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลด้านอื่นๆ อีก เช่น สิทธิจะได้รับการคุ้มครองทั้งทางร่างกายและทรัพย์สินจากรัฐ สิทธิในเคหสถาน สิทธิและเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย สิทธิและเสรีภาพในการเดินทาง สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพโดยสุจริต เสรีภาพในทางร่างกาย เป็นต้น
3.หลักความเสมอภาค ความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกัน เป็นหลักที่สำคัญของอุดมการณ์ประชาธิปไตยอีกหลักการหนึ่ง ระบอบประชาธิปไตยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในชนชั้นใด เพศใด มีฐานะทางเศรษฐกิจหรือฐานะทางสังคมอย่างไร ต่างเท่าเทียมกัน ความเท่าเทียมกัน ในที่นี้ไม่ใช่ความเท่าเทียมกันในสติปัญญา ความสามารถ หรือความสูงความต่ำ แต่เป็นความเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีของความเป็นคน ซึ่งทุกคนมีสิทธิที่จะอยู่รอดในสังคม ความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตยอาจจำแนกได้เป็น 4 ประการ ดังต่อไปนี้
3.1) ความเสมอภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมือง จากแนวความคิดที่ว่าประชาธิปไตย เป็นเรื่องของการปกครองโดยประชาชน ถือว่าเสียงของประชาชนเป็นเสียงสวรรค์ รัฐประชาธิปไตยจึงต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเมื่ออายุถึงเกณฑ์ที่กฎหมายระบุ การแสดงความคิดเห็น
3.2) ความเสมอภาคที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ในรัฐประชาธิปไตยนั้นจะถือว่า กฎหมายเป็นเสมือนข้อกำหนดของสังคมที่ออกมา โดยมีวัตถุประสงค์ในการควบคุมพฤติกรรมที่มีผลร้ายต่อสังคมโดยส่วนรวม นั่นคือกฎหมายจะให้ความคุ้มครองป้องกันแก่คนทุกคนโดยเท่าเทียมกัน และผู้ที่ละเมิดกฎหมายก็จะได้รับโทษทัณฑ์ตามที่กำหนด หรือถ้ามีเหตุอันควรปรานีให้มีการลดหย่อนหรือยกเว้นโทษ ก็ควรจะได้รับการพิจารณาโดยเท่าเทียมกันด้วย
3.3) ความเสมอภาคที่จะแสวงหาความก้าวหน้าในชีวิต ในระบอบประชาธิปไตยนั้น รัฐจะต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนสามารถพัฒนาตนเองได้ เช่น จัดให้มีโรงเรียน วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ให้เพียงพอสำหรับคนที่ปรารถนาแสวงหาความรู้ มีโอกาสรับการศึกษาได้รับความรู้ และมีโอกาสใช้ความรู้ความสามารถสร้างความก้าวหน้าและความมั่นคงในชีวิตให้กับตนเอง และต้องบริหารระบบของสังคมให้เปิดโอกาสสำหรับทุกๆ คนในการที่จะได้ ทำงานโดยสิทธิเท่าเทียมกัน
3.4) ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า รัฐประชาธิปไตยจะต้องทำให้สมาชิกทุกคนมีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง กล่าวคือ มีรายได้สูง และมีความเป็นอยู่ที่หรูหรากันทุกคน แต่จะต้องพยายามกระจายรายได้ นำเอาทรัพยากรทางสังคมมาใช้ประโยชน์ ลดช่องว่างระหว่างชนชั้นให้น้อยลง โดยการสนับสนุนหรือช่วยเหลือกลุ่มที่ด้อยโอกาสกว่า ให้เติบใหญ่และแข็งแรงพอที่จะช่วยเหลือตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การที่รัฐสนับสนุนโครงการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพในชนบท โครงการจัดตั้งสหกรณ์ผู้ผลิต โครงการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับความกินดี อยู่ดี โครงการแจกที่ดินทำกิน เป็นต้น
ข.ความหมายในเชิงรูปแบบการปกครอง
แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นรูปแบบการปกครอง มาจากความเชื่อที่ว่า ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การปกครองตนเองของประชาชนดำเนินการ โดยผ่านผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปทำหน้าที่แทนตน ตามระเบียบวิธีที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เราจึงอาจสรุปหลักการที่สำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังต่อไปนี้
1.หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หมายความว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดของรัฐ ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินปัญหาและกำหนดความเป็นไปของพวกเขาเอง แต่มิได้หมายความว่าประชาชนทั้งประเทศจะต้องมานั่งถกเสียงหาทางแก้ปัญหา
2.หลักอำนาจอธิปไตยโดยปวงชน หมายถึง การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง รูปแบบของการเข้ามีส่วนร่วมของประชาชน จึงมีอยู่หลายทางด้วยกันที่สำคัญ คือ การเลือกตัวแทนของตนขึ้นไปทำหน้าที่ในรัฐสภา นอกจากนี้ ประชาชนอาจทำได้โดยการช่วยรณรงค์หาเสียงให้ผู้สมัครที่ตนนิยม หรือเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์เดียวกัน เพื่อหาทางผลักดันให้นโยบายของพรรคนำมาใช้ปฏิบัติ เป็นต้น
3.หลักอำนาจอธิปไตยเพื่อประชาชน สังคมประชาธิปไตยนั้น ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศ และรัฐบาลจะต้องไม่กระทำไปเพียงเพื่อผลประโยชน์ของคนในกลุ่มตนเท่านั้น ผู้ปกครองที่มาจากประชาชนในระบอบประชาธิปไตยนั้น จะต้องเป็นผู้ที่กระทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนใหญ่ด้วย ให้สมกับความไว้วางใจของประชาชนที่เลือกตนเข้ามารับหน้าที่ ไม่เช่นนั้นเมื่อครบวาระอาจจะไม่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนในสมัยต่อไปก็ได้
4.หลักเหตุผล ประชาธิปไตยประกอบด้วยหลักเหตุผล ทั้งนี้เนื่องจากคนแต่ละคนต่างก็มีแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันไป ถ้าคนปราศจากเหตุผลแล้ว สังคมก็อาจยุ่งเหยิงไม่ได้ข้อยุติที่ดีและถูกต้อง ดังนั้นในระบอบประชาธิปไตยนั้นทุกคนจะต้องร่วมกันคิด โดยต่างก็เสนอความคิดเห็นแล้วอาจมีการเปิดอภิปราย มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ต่างคนต่างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยใจเป็นธรรม ข้อเสนอหรือความคิดเห็นของใครที่มีเหตุผลดีกว่าก็จะได้รับเลือกให้เป็นวิธีการแก้ไขปัญหานั้นๆ ต่อไป
5.หลักเสียงข้างมาก วิธีการหนึ่งที่จะรู้ได้ว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นหลักการเพื่อปวงชน คือ หลักเสียงข้างมาก นั่นคือหลังจากที่ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ โดยการอภิปรายกันพอแล้ว ก็จะมีการออกเสียงลงคะแนนกัน ข้อเสนอที่ได้รับเสียงข้างมากจากที่ประชุมก็จะได้รับเลือกให้นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะถือได้ว่าเป็นข้อเสนอที่มีเหตุผลของคนส่วนใหญ่
6.หลักความยินยอม ประชาธิปไตยจะต้องมีพื้นฐานมาจากความยินยอมอีกด้วย เมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และปวงชนได้เลือกตั้งตัวแทนของตนเพื่อใช้อำนาจ ดังกล่าว จึงถือได้ว่าผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้ามาใช้อำนาจเหล่านี้ได้รับความยินยอมจากปวงชน แต่จะมีอำนาจจำกัดตามรัฐธรรมนูญ และยังถูกจำกัดช่วงเวลาที่ได้รับความยินยอม คืออาจอยู่ในวาระช่วงระยะเวลาหนึ่ง (วาระครบ 4 ปี เป็นต้น) เมื่อครบวาระ หรือมีการยุบสภา ก็จะมีการเลือกตั้งใหม่ หากตัวแทนคนใดได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชนจะได้รับเลือกเข้ามาทำหน้าที่ต่อไป
7.หลักประนีประนอม ในหลายกรณี หลังจากที่ผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันแล้ว และเล็งเห็นว่าข้อเสนอต่างๆ ที่ผู้แทนแต่ละคนเสนอไปนั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก หรือมีข้อขัดแย้งกันไม่มากนัก ที่ประชุมก็อาจใช้การประนีประนอมกัน โดยยึดหลักผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นเกณฑ์ ไม่จำเป็นต้องมีการลงคะแนนเสียงข้างมากก็ได้
8.หลักความเสมอภาค ประชาธิปไตยเชื่อว่ามนุษย์ต่างก็มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน แม้แต่รัฐธรรมนูญไทย ก็ยอมรับในหลักการนี้โดยเขียนไว้ว่า บุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมาย ฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี โดยประการอื่นก็ดี ไม่กระทำให้เกิดอภิสิทธิ์แต่อย่างใดเลย ฉะนั้นกฎหมายในสังคมประชาธิปไตย จึงบังคับใช้กับบุคคลทุกคนโดยเสมอหน้ากันหมด
9.หลักเสรีภาพ สังคมประชาธิปไตย นอกจากจะให้ความสำคัญกับหลักความเสมอภาคแล้ว ยังให้ความสำคัญกับหลักเสรีภาพด้วย กล่าวคือ รัฐในระบอบประชาธิปไตยจะต้องส่งเสริมเสรีภาพต่างๆของปวงชน เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน การอบรมศึกษา การรวมตัวกันเป็นสมาคม เป็นต้น แต่ทั้งนี้เสรีภาพเหล่านี้จะถูกจำกัดโดยกฎหมายนั้นคือ ประชาชนต้องไม่ใช้เสรีภาพนี้ เพื่อทำลายหรือรบกวนเสรีภาพของผู้อื่น
10.หลักนิติธรรม หมายถึง การยึดถือกฎหมายเป็นเกณฑ์กติกา และหลักประกันความเสมอภาคให้ประชาชนได้รับการคุ้มครอง สิทธิ เสรีภาพ และการรักษาผลประโยชน์ ส่วนรวม เพื่อความถูกต้อง สงบเรียบร้อย และชอบธรรม โดยรัฐบาลจะต้องบังคับใช้กฎหมายแก่คนทุกคนโดยเท่าเทียมกัน ไม่ให้มีการละเมิดสิทธิ เพราะเหตุแห่งความเป็นผู้มีอิทธิพล ยศถาบรรดาศักดิ์ เงินทอง หรืออภิสิทธิ์อื่นๆ
11.หลักการปกครองตนเอง เมื่อสังคมประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับหลักความเสมอภาคและหลักเหตุผล เชื่อว่า มนุษย์สามารถปรับปรุงตัวเองให้ก้าวหน้า รวมทั้งแก้ไขปัญหาของตนเองได้ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ปกครองตนเอง ทั้งนี้ เพราะพวกเขารู้ดีกว่าคนอื่นๆ ว่าตนเองต้องการอะไร หรือสิ่งใดที่เป็นผลประโยชน์ของพวกเขา ซึ่งผลประโยชน์เหล่านี้อาจจะอยู่ในแง่รูปธรรม เช่น สวัสดิการทางสังคมต่างๆ หรืออาจจะอยู่ในแง่ของนามธรรม เช่น เสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสมาคม ก็ได้
การใช้อำนาจของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.ประชาธิปไตยโดยทางตรง เป็นรูปแบบการปกครองที่ให้ประชาชนทั้งประเทศ เป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองโดยตรง ด้วยการประชุมร่วมกัน พิจารณา ตัดสินปัญหาร่วมกันในที่ประชุมโดยตรง และจะเป็นผู้เลือกตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของรัฐโดยตรง เราจะเห็นว่าประชาธิปไตยประเภทนี้จะใช้ได้ในเชิงปฏิบัติจริงๆ ก็แต่เฉพาะในสังคมเล็กๆ หรือประเทศเล็กๆ ที่มีสมาชิกจำนวนน้อย ซึ่งแต่ละคนมีโอกาสอภิปราย วิพากษ์วิจารณ์ และพิจารณาปัญหาต่างๆ อย่างละเอียดและมีเหตุผล แต่ถ้านำเอาประชาธิปไตยประเภทนี้มาใช้กับสังคมขนาดใหญ่ ที่มีสมาชิกจำนวนมากแล้วจะเป็นอุปสรรค เนื่องจากความไม่พร้อมเพรียงกัน และการที่จะหาสถานที่ประชุมขนาดใหญ่ เพื่อจะให้ประชาชนทั้งประเทศมาประชุมในที่เดียวกันย่อมเป็นไปได้ยากยิ่ง
2.ประชาธิปไตยโดยทางอ้อม เป็นประชาธิปไตยอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประเทศต่างๆ ของโลกได้ขยายตัวออกไปมาก ประชาชนพลเมืองเพิ่มขึ้น ปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมามาก ฉะนั้นโอกาสที่ประชาชนทั้งประเทศจะมานั่งปรึกษาหารือกัน เพื่อแก้ปัญหากันแบบประชาธิปไตยโดยทางตรงย่อมเป็นไปไม่ได้ เพื่อแก้ไขอุปสรรคนี้ แทนที่ประชาชนทุกคนจะต้องมาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาตัดสินปัญหาใด ก็จะให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกตัวแทนหรือที่รู้จักในนาม สมาชิกรัฐสภา เข้าไปสู่ที่ประชุมแทน ส่วนลักษณะและวิธีการเลือกสมาชิกรัฐสภาของประชาชนในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป
ค. ความหมายในเชิงวิถีวิชีวิตของประชาชน
วิถีชีวิตของประชาชน หมายถึง วิธีการในการดำเนินชีวิตของคนในสังคมที่เอื้ออำนวยต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความเชื่ออยู่ว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะไร้เสถียรภาพ ถ้าบุคคลหรือสมาชิกของสังคมขาดแบบแผนของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมที่เป็นประชาธิปไตย วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยอาจจำแนกได้ดังต่อไปนี้
1.ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาหรือข้อขัดแย้งระหว่างกัน ในทางปฏิบัติ แม้ว่ามนุษย์จะไม่ได้ใช้เหตุผลตลอดเวลา แต่ก็ควรใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เพราะการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น โดยการใช้เหตุผล จะนำมาซึ่งข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับกันโดยไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดความแตกแยกขึ้นในสังคม
2.รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีสติสัมปชัญญะ ปราศจากอคติ และมีความอดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากตน
3.มีน้ำใจประชาธิปไตย กล่าวคือ มีความคิดเห็นเป็นของตนเอง ไม่นิยมการยอมตามความคิดเห็นของผู้อื่น นอกจากจะถูกลบล้างด้วยเหตุผลที่น่าเชื่อถือกว่า ยอมรับเสียงข้างมาก เคารพในศักดิ์ศรี สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มีจิตใจกว้างขวาง พร้อมที่จะยอมรับการวิพากษ์ วิจารณ์จากผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
4.สนใจกิจการบ้านเมืองและเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง โดยถือว่าเป็นหน้าที่ เคารพกฎเกณฑ์หรือกติกาทางการเมืองในระอบประชาธิปไตยอย่างเคร่งครัด
5.รู้จักประนีประนอมมากกว่าที่จะดึงดันเอาชนะกัน โดยอาศัยการขู่เข็ญ บังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับในเงื่อนไขของฝ่ายตนแต่ฝ่ายเดียว
6.มองโลกในแง่ดี สมาชิกของสังคมประชาธิปไตยจะต้องมีศรัทธาและความหวังต่อชีวิตเสมอ กระบวนการในระบอบประชาธิปไตยนั้นอาจต้องใช้เวลา ความอดทน อดกลั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง
7.มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เมื่อสมาชิกของสังคมประชาธิปไตยเกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของประเทศ และประเทศเป็นของทุกคนแล้ว ทุกคนจะเกิดความรัก ความภักดีต่อชาติบ้านเมือง ต่างพยายามที่จะประพฤติตนให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย และศีลธรรมอันดีงาม และต่างก็จะพยายามทำตนเป็นพลเมืองดี ช่วยกันบำรุงรักษาสาธารณสมบัติ ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากในรูปของสังคมสงเคราะห์ เข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเมืองให้สะอาดร่มเย็น เป็นต้น
ปัจจัยที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตยไม่อาจดำรงอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง จึงจำเป็นต้องมีปัจจัยอื่นๆ ที่จะเป็นตัวคอยให้การสนับสนุน หรือช่วยให้ระบอบนี้ดำรงอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพ
1.ระดับการศึกษาของประชาชน เป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย คือ ในเมื่อคนในสังคมได้รับการศึกษาดี มีเหตุผล มักจะติดตามข่าวสารทางการเมือง มีความสนใจทางการเมือง และมีความรู้ความเข้าใจว่าตนเองเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม นโยบายใดๆที่สังคมออกมาก็ย่อมที่จะมีผลกระทบต่อเขาโดยตรง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาดีมักจะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
2.การพัฒนาเศรษฐกิจ จะพบว่าประเทศพัฒนานั้นจะมีระดับของความเสมอภาคทางเศรษฐกิจสูงกว่าประเทศด้วยพัฒนาทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นผลให้สังคมมีสวัสดิการต่างๆที่ดี เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล ฯลฯ นอกจากเศรษฐกิจที่ดีมั่นคงจะช่วยให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยความสมัครใจ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลหรือการถูก ชักจูง ขู่เข็ญใดๆ แล้ว ยังมีผลให้ระบอบประชาธิปไตย ดำเนินไปด้วยดี และมีเสถียรภาพอีกด้วย
3.บุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลให้ระบอบประชาธิปไตยยั่งยืนอยู่ได้ ลักษณะของบุคลิกภาพเหล่านี้คือ ความสนใจที่จะมีต่อกิจการบ้านเมือง เมื่อสนใจแล้ว ก็มีความกระตือรือร้นที่จะติดตามความเป็นไป มีการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ไร้อคติ และที่สำคัญได้แก่ การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง โดยถือเสมือนว่าเป็นหน้าที่ที่ตนจะต้องทำ หรือที่ตนจะต้องรับผิดชอบในฐานะสมาชิกผู้หนึ่งของสังคม
4.เสถียรภาพของสถาบันทางการเมือง มีส่วนช่วยให้ระบอบประชาธิปไตยก้าวหน้ามั่นคงด้วย นั่นคือ เมื่อสถาบันหรือองค์กรทางการเมืองเป็นที่ยอมรับของประชาชน ประชาชนก็จะมีความศรัทธา และจะเข้าไปเป็นสมาชิก หรือเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น เมื่อพรรคการเมืองมั่นคงสามารถแสดงออกซึ่งเจตนาของสมาชิกได้อย่างแจ่มชัด นโยบายที่ออกมาก็ได้รับการเชื่อถือและนำมาปฏิบัติ ประชาชนจะมีความศรัทธาพรรคการเมืองนั้น และเข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งก็เท่ากับเป็นการเกื้อกูลให้ระบอบประชาธิปไตยมีเสถียรภาพยิ่งขึ้นด้วย
5.พัฒนาการทางการปกครองและการบริหาร ปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย คือการปกครองและการบริหารต้องมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้ นโยบายของรัฐบาลตรงตามเจตนารมณ์และมีผลดีต่อประชาชน คือ ประชาชนได้มีโอกาส ได้มีส่วนร่วม และได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานอย่างทั่วถึง ส่งผลให้ประชาชนเข้าใจ ศรัทธา และยึดมั่นการเมืองระบอบประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น เจ้าของมีส่วนร่วมสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงทางการเมืองมากขึ้นไปด้วย
ประชาธิปไตยที่ห้ามกิน กับ ประชาธิปไตยที่กินได้
(ที่มา http://www.prachatai.com/journal/2009/04/20760)
- จากฝ่ายที่เห็นว่า ประชาธิปไตยแบบปัจจุบันนี้เป็นประชาธิปไตยที่ไม่แท้จริง เพราะเป็นเรื่องของการซื้อเสียงและการคอรัปชั่น ซึ่งหัวใจสำคัญก็คือการไม่เคารพหลักนิติรัฐ-นิติธรรม เพราะมีการปรับแก้กฎหมายให้ผู้มีอำนาจจากการเลือกตั้งได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจอยู่กลุ่มเดียว (กินได้อยู่กลุ่มเดียว) และมีการอ้างอิงการเลือกตั้งในการฟอกความผิดราวกับว่าถ้ามาจากการเลือกตั้งก็แปลว่าได้รับเลือกจากประชาชนแล้ว นั่นคือความยุติธรรม
- ประชาธิปไตยเช่นนี้เชื่อว่าประชาธิปไตยเป็นทรัพย์สิน ที่ต้องการความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการบริหารและใช้งาน ศัตรูของประชาธิปไตยแบบนี้มีสองแบบ คือ ทรราชที่เข้ามาพรากทรัพย์สินหรือประชาธิปไตยของพวกเราไป และ ประชาชนจำนวนมากที่ใช้ทรัพย์สินไม่เป็น เช่น เอาไปขาย(ขายสิทธิ์ขายเสียง)
- ประชาธิปไตยที่กินได้นั้น หมายถึงประชาธิปไตยที่มี (ฐาน)ทรัพยากร เหมือนกับ ดิน น้ำ ป่า อากาศ ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ สามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้อย่างเสมอภาค เท่าเทียมกัน
- ประชาธิปไตยในแง่นี้อาจไม่ใช่สิทธิและเสรีภาพของคนคนเดียว หรือกลุ่มชนชั้นปกครองเพียงกลุ่มเดียว แต่หมายถึงการเข้าถึงอำนาจของคนทั้งชุมชน ทั้งหมู่บ้าน คนไทยทุกคน
- แต่เท่าที่ผ่านมา กระบวนการประชาธิปไตยแบบห้ามกิน (ไม่มีส่วนร่วมในการปกครอง และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และอื่นๆ) เริ่มรุกรานพื้นที่ของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่เคยฟังเสียงของพวกเขา
- กระบวนการประชาธิปไตยที่ห้ามกิน จึงลดทอนทั้งอำนาจและความสลับซับซ้อนของประชาธิปไตยที่กินได้ซึ่งกระจายตัวขยายออกไปทั่วทุกพื้นที่ ทุกระดับ มาเป็นเวลานาน โดยที่ประชาชนไม่มีสิทธิเรียกร้อง หรือร้องขอหรือทักท้วงใด เพราะประชาชนไม่สามารถมีสื่อที่ติดต่อสื่อสารกัน ไม่รู้ว่าตนเองมีสิทธิ ไม่มีเวลาเพราะต้องทำมาหากิน ตามไม่ทันเกมนักการเมือง ข้าราชการ ชนชั้นปกครอง ที่มีสื่อคอยผสมโรงโฆษณาชวนเชื่อปกปิดหมกเม็ด ทางแก้ไขจึงเป็นที่มาของการสร้างการเมืองภาคพลเมืองให้เข้มแข็ง คือการรวมตัวของประชาชนในการติดตามทักท้วงเสนอแนะ มีส่วนร่วมใน นโยบายต่างๆของรัฐ และมีสื่อที่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
อำนาจภาคประชาชน กับ ประชาธิปไตยที่กินได้ (8 ตุลาคม 2549)
“ประชาธิปไตยที่กินได้”เช่นการกระจายทรัพยากร เช่นแร่ธาตุ น้ำมันอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม และการกระจายอำนาจอย่างสมดุลให้ทุกภาคส่วนในสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ
หลักคิดที่พูดกันเสมอ คือ ประชาธิปไตย อำนาจที่มาจากประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน อะไรทำนองนี้... มันเป็นวาทกรรมที่หลอกให้ชาวบ้านเชื่อว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ทั้งๆ ที่ประชาธิปไตยเป็นของชนชั้นปกครอง คือเขาก็พยายามบอกให้ชาวบ้านว่าคุณควรจะเชื่อนะ ซึ่งระบบนี้มันทำให้คนค่อนข้างจะงอมืองอเท้า ทั้งๆที่ ประชาธิปไตยที่กินได้ คือ สิ่งที่เราสามารถดำรงชีวิตในลักษณะที่เราเป็นเจ้าของอนาคตของเรา เรากำหนดเองได้ เรากำหนดนักการเมืองได้ เรากำกับเขาได้ ไม่ใช่ปล่อยให้นักการเมืองเข้ามาเสพสุขเสวยอำนาจไปทุกๆ สี่ปี แต่เราทำอะไรไม่ได้เลย นอกจากหย่อนบัตรเลือกตั้ง
ประชาธิปไตยที่กินได้ ย่อม หมายถึง พลังอำนาจของประชาชน ที่มีอำนาจกำกับรัฐบาล กำกับนโยบายต่างๆ ที่ทุกเสียงมีสิทธิเท่าเทียมกัน เราไม่ต้องการนักการเมืองที่ไม่ยอมให้ชาวบ้านมีอำนาจตัดสินใจอะไร เขาจัดการทำเองหมดโดยอ้างว่าเขาหวังดีต่อประเทศชาติ อีกทั้งชาวบ้านไม่มีความรู้อะไร ทำอย่างนี้ไม่ได้ และไม่ต้องการให้นักการเมืองมาขายนโยบายให้เรา แต่เรา (ชาวบ้าน) จะเป็นฝ่ายกำหนดนโยบายให้นักการเมืองเอาไปทำ ต้องเป็นอย่างนี้ อำนาจต้องอยู่ที่ประชาชน
ประชาธิปไตยที่กินได้ พูดง่ายๆ ก็คือ ประชาธิปไตยที่ประชาชนได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง มีสิทธิที่จะได้รับผลประโยชน์จากรัฐ และรัฐมีหน้าที่ต้องเอื้ออำนวยให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์นั้นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และเสมอภาค ไม่ใช่ได้ประโยชน์เฉพาะกลุ่มชนชั้นปกครองประเทศ และพวกพ้องเท่านั้น
ใน หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๒
ความจำเป็นของการเมืองกับชีวิตประจำวัน จากคู่มือประชาธิปไตย ของกระทรวงพัฒนาสังคม
ชีวิตกับการเมือง
ชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งสิ้น ถ้าการเมืองดีชีวิตของเราจะดี ถ้าการเมืองแย่ชีวิตของเราก็จะแย่ไปด้วย เราจึงต้องให้ความสนใจ ติดตามเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง และต้องไม่ปล่อยให้การเมืองและนักการเมืองแย่ ๆ เข้ามามีอำนาจ และใช้อำนาจมาสร้างความเสียหายให้กับประชาชน
อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจในการปกครองสูงสุดเป็นของประชาชน ประชาชนสามารถใช้อำนาจได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เราเลือกตั้งผู้แทนเพื่อไปทำหน้าที่แทนเราจึงต้องรู้หน้าที่ของตัวแทน แต่ที่ผ่านมาตัวแทนไม่ได้ทำหน้าที่หรือทำหน้าที่บกพร่อง เพราะเราเลือกตัวแทนที่ไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริง โดยคนยากจนหรือผู้เสียเปรียบในสังคม จำนวน 90% แต่มีตัวแทนเพียง 10% ขณะที่คนรวย 10% แต่มีตัวแทนถึง 90%”
ทั้งนี้เพราะมีการซื้อสิทธิขายเสียงโดยเงินที่นำมาซื้อได้มาจากนายทุนที่ลงทุนให้เพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทนจากตัวแทนในรูปของกฎหมาย/นโยบายรัฐ/สัมปทานรัฐที่เอื้อผลประโยชน์ทางธุรกิจของตน ดังนั้น การเลือกตัวแทนที่ดีและเหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นในการเลือกตั้ง
กิจวัตรประจำวันเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการเมือง
ชีวิตประจำวันของคนเราเริ่มตั้งแต่ ตื่นนอน อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน ดูโทรทัศน์ ทำงาน สวดมนต์ จนถึงเข้านอน แม้กระทั่งหายใจหรือหลับฝัน ก็สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งสิ้น
เช่น การอาบน้ำ การใช้น้ำก็เป็นการใช้ทรัพยากร ซึ่งจะต้องมีการจัดสรรแบ่งปันอย่างเป็นธรรม การใช้ น้ำประปาใช้แล้วต้องเสียเงินค่าน้ำต้องใช้ภาษี จากประชาชน หรือการที่ต้องมีภาชนะตักน้ำ สบู่ ต้องซื้อและเสียภาษีด้วย
เมื่อชีวิตเราทุกคนล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการเมือง เราจึงต้องสนใจการเมือง หรือสนใจเหตุการณ์บ้านเมือง ข่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นข่าวด้านสุขภาพ สังคม วัฒนธรรม ความขัดแย้ง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การทุจริตโกงกิน คอร์รัปชั่น ข่าวระเบิด ข่าวราคาสินค้า ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อเราทั้งสิ้น
และจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองด้วย ถ้าเราไม่สนใจการเมือง ถือว่า“ธุระไม่ใช่” ก็จะเป็นช่องทางให้คนไม่ดี ถือโอกาส ฉกฉวยเอาการเมืองไปหาประโยชน์ให้ตนเอง และพวกพ้อง และสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศชาติและประชาชนรวมทั้งตัวเราได้ในที่สุด
“ถ้าเราไม่สนใจการเมือง ชีวิตเราจะเป็นอย่างไร”
ในเมื่อชีวิตกับการเมืองเป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้ และหากเราไม่สนใจการเมือง การเมืองก็จะทำให้เราเดือดร้อน นักการเมืองก็จะยึดอำนาจของเราไปใช้โดยไม่เป็นธรรม เราจึงต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และติดตามการเมืองที่มีธรรมาภิบาล คือปกครองอย่างยุติธรรม และการทำการเมืองให้ดี ให้การเมืองเป็นการเมืองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
ถ้าการเมืองดี มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง เช่น ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน มีที่ดินทำกิน มีแหล่งน้ำ มีอาหารพอเพียงได้ผลผลิตก็ขายได้ราคาดี ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นธรรมไม่หมกเม็ด ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบกัน นักการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ทุจริต โกงกิน คอร์รัปชั่น หรือไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว พวกพ้อง มากกว่าส่วนรวม ชีวิตของเราก็จะดีขึ้น
อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
ประชาชนสามารถใช้อำนาจอธิปไตยได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
โดยทางตรง (ที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเองไม่ต้องใช้ผ่านใคร) หรือเป็นการเมืองภาคประชาชน ตัวอย่างเช่น การพูด การเขียน การแสดงความคิดเห็น หรือการขอดูข้อมูลของราชการเช่น จาก อบต. ว่ามีโครงการพัฒนาอะไรบ้าง ทำที่ไหน ใช้งบประมาณเท่าใด ฯลฯ
โดยทางตรง (ที่ต้องร่วมกับผู้อื่น) เช่น การเข้าชื่อเสนอกฎหมายถอดถอนนักการเมือง ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นที่ทุจริต ทำให้เกิดความเสียหายต่อชุมชน
สำหรับการใช้ อำนาจอธิปไตยโดยทางอ้อม หรือที่เรียกว่า “การเมืองภาคตัวแทน” ได้แก่ การเลือกตั้งตัวแทนระดับชาติ และระดับท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่แทนประชาชน เช่น ส.ส. ส.ว. และ อบต. เทศบาล อบจ. เป็นต้น
“ที่ผ่านมาทำไมเราจึงไม่สามารถเลือกได้ตัวแทนที่ถูกต้องและเป็นตัวแทนอย่างแท้จริง” เพราะยังมีการซื้อเสียง/ประชาชนไม่เลือกผู้สมัครที่ดีแต่ไม่มีเงินซื้อเสียง การเลือกตั้งทุกระดับยังมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง โดยเงินที่นำมาซื้อมาจากกลุ่มพ่อค้านายทุน ผู้มีอิทธิพล ซื้อเสียงเพื่อสนับสนุนพรรคพวกของตนให้ได้รับเลือกตั้งเกณฑ์การเลือกตั้งมีช่องว่างให้เกิดการโกงคะแนน
การที่ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ทำให้มีการนำเสนอปัญหาของประชาชนที่ผิดเพี้ยน หรือไม่ตั้งใจแก้ปัญหาประชาชนที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของนายทุน
ส่วนหนึ่งจากคู่มืออาสาสมัคร พัฒนาการเมือง ของกระทรวงพัฒนาสังคม ฯ
ปฏิรูปการเมือง กับ อนาคตประเทศไทย
ปัญหาประเทศไทย สรุปจาก คู่มือ แผนพัฒนาการเมือง โดยคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง และยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
การเมืองไทย ยังขาดความเป็นประชาธิปไตย โดยประชาชน เพื่อประชาชน ของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะประชาธิปไตย ที่มีอยู่เป็น ประชาธิปไตยแค่ 4 วินาที ขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และ ประชาธิปไตย 4 วินาทีก็ยังมีขบวนการบิดเบี้ยวเพื่อให้กลุ่มใดหรือคนใด ได้กุมอำนาจ ไม่ได้ คนที่ประชาชนต้องการอย่างแท้จริง
สภาพัฒนาการเมือง มีความเป็นอิสระเพื่อติดตามสอดส่องให้มีการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
มาตรา 78(7)และ รัฐธรรมนูญมาตรา มาตรา87 (3) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพหรือตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย หรือรูปแบบอื่น
ปัญหาการเมือง ในปัจจุบันคือ
1.ประชาชน ตื่นตัวน้อย ไม่มีสื่อตัวกลางที่จะเชื่อมถึงกัน ไม่รู้จักบทบาทของตนเองในการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่รู้ว่าตนเองมีสิทธิติดตามทวงถาม ทักท้วง ความไม่ยุติธรรม ความไม่ชอบมาพากล รู้เพียงแค่ว่ามีสิทธิในการเลือกตั้งเท่านั้น ไม่รู้ว่าจะไปหาใครหากเกิดถูกละเมิดสิทธิ
2 ระบบอุปถัมภ์ ยังคงมีอยู่ทั้งในเมือง ( ชุมชนแออัด ) และ ชนบท ประชาชนยังยากจนพึ่งตนเองไม่ได้ ( เหตุจากการศึกษา คุณภาพคน ) จึงต้องพึ่งผู้แทน ซึ่งเงินเดือนอย่างเดียว ซึ่งคงไม่พอ จึงต้องหาเงินนอกระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการ เล่นพรรคเล่นพวก ส่งส่วย รับใช้นาย มากกว่า ประชาชน
(เน้นจงรักภักดีกับนาย แต่ทรยศทอดทิ้งประชาชนพูดง่ายๆ ทิ้งงานราฎร์ มาเอาใจงานหลวงใช้เวลามาอุปถัมภ์ พวกเดียวกันเอง)
นักการเมืองที่เป็นนายทุนพรรค ได้รับแต่งตั้งเป็น รมต. ( ความจริงต้องกำหนดคุณสมบัติ รมต. หรือประเมินผลงาน ภายใน 6 เดือน ถึง 1 ปี ปลดออกได้)
3.ระดับครอบครัว กระบวนการเลี้ยงดูเด็กยังติดนิสัยอาวุโส ไม่ยอมรับการโต้เถียงของเด็ก เลี้ยงแบบไข่ในหิน พึ่งตนเองไม่ได้ ครอบครัว พ่อแม่ ยังเลี้ยงดูเด็กแบบสร้างเสริมนิสัยความเป็นเจ้าขุนมูลนาย ความเห็นแก่ตัว การแก่งแย่งช่วงชิงมากกว่า การช่วยเหลือ เมตตาธรรม และหลายครอบครัวไม่มีองค์ความรู้ในการเลี้ยงลูกที่ถูกทาง รวมถึงการไม่ปลูกฝังความดี การมีเมตตาธรรม การเห็นคุณค่าของชีวิตอื่น ความรักชาติ เสียสละ การมีจิตอาสา
4.ปัญหา ระบบการศึกษา
-ไม่ปลูกฝังสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ อุดมการณ์ ความรักชาติ ของเยาวชน คุณธรรมจริยะธรรม อย่างเป็นรูปธรรม มักเน้นความจำ เป็นแต่ในตำรา หรือในห้องสอบ มากกว่า วิถีชีวิตจริง
-รัฐและมหาวิทยาลัย ไม่ส่งเสริมประชาธิปไตย ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชน เยาวชน เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เช่นไม่มีงบและวิธีการสนับสนุนให้เยาวชนทำกิจกรรม (นิสิตยังต้องเสียเงินค่าใช้ห้องประชุม ให้มหาวิทยาลัย และหาเงินทำกิจกรรมเอง จะสังเกตได้ตามแยกต่างๆ ตามทางขึ้นรถไฟฟ้า นิสิต ยังถือกล่อง รับบริจาคเพื่อนำไปทำกิจกรรม เอง )
-รัฐยังต้องการให้ประชาชน เคารพ การปกครองของรัฐ และ เป็นพลเมืองดีที่อยู่ในโอวาทของรัฐมากกว่าการสร้างพลเมืองที่ต้องการมีส่วนร่วมในการปกครอง
-โรงเรียนไม่เปิดโอกาสให้เยาวชนสะท้อนปัญหาการศึกษาอย่าง กว้าง ขวาง ไม่ว่า การเกิด ปัญหาข้อขัดแย้งระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย การบังคับเรียน เกิดโรงเรียนกวดวิชามากมาย และผู้บริหารกระทรวงไม่เปิดใจให้ฝ่ายปฏิบัติ ได้สะท้อนปัญหาอย่างแท้จริง
-ผู้ใหญ่ไม่เป็นแบบอย่างประชาธิปไตยให้เด็กดู ครูยังเป็นเผด็จการมากกว่าประชาธิปไตย รวมทั้งข้าราชการผู้น้อย ยังไม่สามารถโต้แย้งข้าราชการผู้ใหญ่ได้เต็มที่
5. ไม่มีสื่อของภาคประชาชนที่แท้จริง ประชาชน ที่บริสุทธิ์ใจ ไม่สามารถรวมตัวกันได้ หรือรวมตัวกันได้แต่ด้วยผลประโยชน์ส่วนตัว พรรคพวก มากกว่า ส่วนรวม และความมีอัตตาในตนเองสูง ถือว่าตนเองเป็นคนดี มีการใช้ฐานประชาชนบางกลุ่มขึ้นมาต่อรอง เกิดม็อบมวลชน ใช้ความรุนแรงมากกว่า สันติวิธี มีการยุแยกให้เกิดความแตกสามัคคีในหมู่ NGOด้วยกันเอง เพราะไม่อยากให้รวมตัวกันได้ ซึ่งก็ได้ผล เพราะฉะนั้นการรวมตัวกันของคนดีๆจึงยากกว่าการรวมตัวกันของกลุ่มผลประโยชน์
6.ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งสื่อ งบประมาณ สถานที่ พื้นที่ เพื่อให้ประชาชนได้รวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง
7.การเมืองหลังการปกครอง 2475
มีการเปลี่ยนแปลงกติกา เพื่อพัฒนาการเมืองให้เป็นระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น แต่ถึงแม้นจะสร้างมา เพื่อควบคุมธุรกิจการเมือง หรือเพื่อสร้างธรรมาภิบาล กติกา กลไกต่างๆ ที่พยายามสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพของประชาชน เพื่อควบคุมนักการเมือง กลับล้มเหลว ไม่ว่าที่มาของผู้แทน กลไกการตรวจสอบ ควบคุมถูกแทรกแซง ที่มาของตัวแทนองค์กรอิสระ ยังให้นายทุน อำนาจถูกครอบงำได้ ( ในบางตัวแทน ) กระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระที่ต้องพึ่งอำนาจและงบประมาณจากรัฐ ไม่ว่าสภาพัฒนาการเมืองที่เพิ่งตั้ง ก็ได้งบจำกัด ยังอยู่ในกลุ่มอำนาจเดิมๆที่ไม่จริงใจที่จะแก้ไขปัญหาการเมืองของประเทศ
7.1 การเมืองที่เปลี่ยนแปลงใหม่ ไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม หรือแบบพลเมืองขึ้นมาได้ เพราะค่านิยมแบบอุปถัมภ์ คุ้นเคยกับบทบาทผู้ตามที่ดี โดยเฉพาะประชาชนตามชนบท ขบวนการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยที่สมบรูณ์ รัฐยังไม่ปลูกฝังหรือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม การใช้สิทธิ หน้าที่ของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ( รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 – 74 และแนวนโยบายของรัฐ ม. 78 – 87 ) หรือการ ตรวจสอบติดตามในด้านนโยบาย การออกกฎหมาย
(การเมืองใหม่ระบบสังคมนิยมเน้นรวมศูนย์อำนาจ การเมืองใหม่ระบอบประชาธิปไตยเน้นกระจายอำนาจ อยากได้แบบไหนเลือกเอา)
7.2 ข้าราชการ นายทุน ผู้มีอิทธิพล ชนชั้นปกครองยังหวงอำนาจ ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบาย สะท้อนความคิดเห็น การร่วมออกกฎหมายต่างๆ
7.3 พรรคการเมืองยังมีลักษณะเป็นของนายทุน ชนชั้นปกครอง ผู้มีอิทธิพล นักเลง พ่อค้า อันธพาลมากกว่าเป็นของประชาชนระดับรากหญ้า นายทุนมีบทบาทมากกว่าผู้ทำความดี ปล่อยให้สื่อชี้นำ เชิดชูสร้างภาพบางบุคคลเพื่อให้ประชาชนที่ตามไม่ทันหลงตามเกม ที่วางไว้ จะเห็นว่าการเลือกตั้งผู้ว่า หรือ สส. พรรคการเมืองมีการชี้นำ บางกลุ่ม และ โจมตี บางกลุ่ม
7.4 ไม่มีเกณฑ์ที่ต้องคัดกรองตัวแทนก่อนสมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งเกณฑ์การเลือกตั้งยังคงมีช่องโหว่ให้เกิดการใช้อิทธิพล ทั้งจากข้าราชการ ผู้มีอิทธิพลทางอำนาจ นายทุน โกงคะแนนเข้ามาใช้ เช่นการใช้อำนาจมืด อิทธิพล ข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม ฯลฯ
7.5 กลุ่มสื่อมวลชน ขาดจรรยาบรรณ ส่วนหนึ่ง ยังคงตกอยู่ในอำนาจของ ทุน ไม่กล้าแสดงข้อเท็จจริง ส่งเสริมคนโกง มากว่าคนดีๆที่อาสา เพื่อบ้านเมือง ในการเลือกตั้งหลายครั้ง ยังคงให้กลุ่มนายทุนเข้ามามีอิทธิพลมากกว่า เสนอภาพคนดีๆจริงๆให้ปรากฏ
สื่อไม่เผยแพร่สิทธิ หน้าที่ ของประชาชน อย่างทั่วถึง การสร้างจิตสาธารณะ ส่งเสริมการรวมกลุ่ม ส่งเสริมบทบาทของแต่ละกลุ่มให้เข้มแข็ง
ปัญหาพรรคการเมือง
ก่อนหน้านี้ พรรคเล็กพรรคน้อย สส. อิสระ ไม่สังกัดพรรค รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ( ถ้ารัฐบาลไม่โปร่งใส ไม่มีธรรมาภิบาล )
ปัญหาพรรคใหญ่ พรรคเดียว สส. สังกัดพรรค รัฐบาลกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ และแทรกแซงองค์กรอิสระ มีผลประโยชน์ทับซ้อน (แต่ประชาชนเดือดร้อน เพราะถ้ารัฐบาลไม่โปร่งใส ไม่มีธรรมาภิบาล)
สรุปปัญหา ทั้งสองอย่าง คือ ผู้นำ และรัฐบาล ขาดธรรมาภิบาล เมตตาธรรม
ทางออก ปฏิรูปการเมือง ทำได้ทันที
ขอเสนอข้อคิดเห็นที่จะเกิดมรรคผลแก่ บ้านเมืองทันที คือ
(เหมือนในบราซิล ที่ยึดที่ดินมาบริหารเองเลย : direct action ที่มากรุงเทพธุรกิจ 22 กันยายน 2551 )
1 เริ่มแรกเลยขอให้รัฐบาล ให้สื่อทีวีหนึ่งช่องฟรี แก่ ภาคประชาชนจริงๆ หรือสภาพัฒนาการเมือง หรือเชิญชวนทุกสื่อ เสนอข้อมูลทุกด้านอย่างเป็นธรรม
1.1 ทั้งเรื่องสิทธิ หน้าที่ บทบาท ของตนเองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ประชาธิปไตย เพียงแค่การหย่อนบัตร แค่4 วินาที
1.2 รับเรื่องร้องเรียน และชี้แจงเมื่อได้แก้ไข
1.3 เปิดเผยข้อเท็จจริงไม่หมกเม็ด เช่นราคาน้ำมัน ก๊าซ ค่าไฟฟ้า ต้นทุนเป็นอย่างไร
1.4 กฎหมายที่จะผ่านสภา มติครม. นโยบายต่างๆ ประชาชนควรรับรู้ และมีส่วนร่วม
1.5 ห้องเรียนขนาดใหญ่ของประเทศ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา
การดูแลสุขภาพ ความรู้ใหม่ๆ
เฉพาะการศึกษา ควรจะมี
1.วิธีการเลี้ยงดูอบรม ให้การศึกษา ลูกหลานอย่างถูกทิศทาง การสร้างทักษะชีวิต สร้างอย่างไร การพัฒนาสติปัญญา ไอคิว จิตสาธารณะ อุดมการณ์เพื่อสร้างชาติ ควรทำอย่างไร การสอนให้เด็กคิดเป็นควรเป็นอย่างไร ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ควรทำอย่างไร
1.1 ความเดือดร้อนของเยาวชน เด็ก ผู้ปกครอง หรือความไม่ชอบมาพากล ของระบบการศึกษาหรือเรื่องความเดือดร้อนอื่นๆ
1.2 ชี้แจง การแก้ไขปัญหา ในเรื่องต่างๆที่ประชาชนร้องเรียน
1.3 ชี้แจงหรือให้มีส่วนร่วมในนโยบายการศึกษา
1.4 แบบตัวอย่าง ความรู้การจัดการศึกษาที่ดีๆทั้งในและต่างประเทศ
2.วิธีการได้มาของผู้แทน เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ทุกฝ่ายมองข้ามไป คือ ทั้ง สส. สว. ผู้ว่าฯ อบต. อบจ . ต้องให้ได้คนที่ประชาชน เลือก ได้คนดีๆ และมีการซื้อขายเสียงน้อยที่สุด และผู้เลือกเองก็ต้องมีคุณภาพ นั่นคือต้อง แก้ไขเกณฑ์การเลือกตั้ง อย่างเร่งด่วน ซึ่งหากทำได้เลยก็จะมีผลดี ต่อการเลือกตั้งทุกครั้ง ทุกชนิด เช่นให้มีการเซ็นชื่อผู้ลงคะแนน บนบัตรเลือกตั้งเพื่อป้องกัน การยกหีบ เปลี่ยนหีบบัตร การกำหนดสัดส่วน ให้เงินภาคประชาชน เข้าร่วมตรวจสอบการเลือกตั้ง การสนับสนุน ประชาสัมพันธ์จากบางสื่อที่ไม่เอียงข้าง ให้มีการนับคะแนนหน้าหน่วย การกำหนด การใช้เงินจำนวนไม่มากในการสมัครแต่ละครั้ง เช่นสามหมื่นห้าหมื่น ให้มีบทลงโทษอย่างหนักหากมีการโกงคะแนนหรือนับคะแนนไม่ตรงไปตรงมาเช่นปรับ ยี่สิบล้าน ติดคุก ห้าปี เช่นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ ไม่มีการนับคะแนนหน้าหน่วยเพราะฉะนั้น สามารถร่วมโกงคะแนนกันได้
แนวทาง การเมืองใหม่ ที่บอกว่า ให้เปลี่ยนแปลงที่มาของสส. สว. นักการเมือง หากเกณฑ์การเลือกตั้งยังคงเหมือนเดิม ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ เพราะจะได้นักเลง พ่อค้าหวย นายทุนกลับเข้ามาอีกรอบ ณ ขณะนี้ไม่มีใครเรียกร้องให้เปลี่ยนเกณฑ์การเลือกตั้ง ทั้งที่สำคัญที่สุดในการได้มาซึ่งกระบวนการประชาธิปไตย ที่แท้จริง แต่ประชาชนโดนปิดตา ปิดหู โดนโกงคะแนน โฆษณาชวนเชื่อ สร้างภาพนักการเมืองบางคน เบี่ยงเบนประเด็น
3 ที่มาของข้าราชการผู้ใหญ่ ปลัด หรือหัวหน้ากรม กอง ในแต่ละหน่วยงานของรัฐ อาจจะให้เลือกตั้งจาก ข้าราชการในหน่วยงาน โดยเอากรรมการจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เชื่อถือได้ รวมทั้งตัวแทนศาสนา ร่วมเป็นกรรมการ นอกจากความอาวุโส แล้ว ควรจะมีการแสดงวิสัยทัศน์ และผลงานในอดีต ร่วมด้วย โดยเฉพาะระดับซีเก้าขึ้นไป
4. ที่มาขององค์กรอิสระ ซึ่งยังมีอำนาจบางอย่างแอบแฝง เช่น คณะกรรมการของสภาที่ปรึกษาฯต้องมาจากอธิการ หรือที่มาของ ปปช .กกต . ต้องข้าราชการซี สูงๆ ไม่มีภาคส่วนของนักต่อสู้ หรือตัวแทน ภาคประชาชน เลย หรือ คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ควรมีข้าราชการ หรือพนักงงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนได้ ควรให้มีการเลือกตั้งโดยตรงจากภาคประชาชนทั้งประเทศในตำแหน่งสำคัญๆ
5. ควร ปรับเปลี่ยนบอร์ด รัฐวิสาหกิจ การบินไทย ปตท กฟฝ ขสมก การทางพิเศษ แห่งประเทศไทย กกร . กบง . ฯลฯ หรือ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นลงราคาสินค้า ค่าสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำมัน ประปา ไปรษณีย์ ค่ารถเมล์ ต้องมีตัวแทน ภาคประชาชน ครึ่งหนึ่ง และให้มีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดกฎเกณฑ์ ซึ่งข้อนี้มีการกำหนดในรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามอย่างแท้จริง (และไม่มีความผิด )
6. ทุกกระทรวงควรมีรัฐบาลเงา จากตัวแทน ภาคประชาชน ทั่วประเทศ เพื่อติดตามตรวจสอบ เสนอแนะ นโยบาย กฎหมายที่จะออกมาเพื่อบังคับใช้แก่ประชาชน ให้ภาคประชาชนที่ อาจจะเรียกว่า สภาประชาชน มีส่วนร่วม และควรอนุญาตให้ประชาชนสามารถไปใช้สถานที่ราชการได้ทุกแห่ง ในทุกองค์กร ของรัฐ เช่นในมหาวิทยาลัย สำนักงานเขต กระทรวงต่างๆ สถานศึกษา เพื่อใช้เป็นที่ ร่วมเสนอข้อคิดเห็น และมีงบประมาณสนับสนุน
ขณะนี้เริ่มมีสภาพัฒนาการเมือง ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากสภานี้ถือโอกาสทำงานพัฒนาการเมืองใหม่ได้เลย (แต่ต้องปรับเปลี่ยนหัวกระบวน เพราะไม่ค่อยเดินหน้า)
7. การใช้อำนาจตุลาการ หรือกระบวนยุติธรรม ควรมีคณะลูกขุนเพื่อให้ การตัดสินความด้วยความยุติธรรม ไม่มีสองมาตรฐาน และมีความเป็นธรรมแก่ประชาชน และทั้งข้าราชการผู้ใหญ่ นักการเมืองต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไม่ใช่ทำอะไรก็ไม่เคยผิด และควรมีที่ปรึกษา ทางกฎหมายแก่ประชาชน
กฎหมาย ควรจะใช้บังคับทุกคนไม่มีใครอยู่เหนืออำนาจกฎหมาย และหากใครไมทำตามกฎหมายควรมีบทลงโทษ โดยเฉพาะข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้แทนองค์กรอิสระ หากมีสองมาตรฐานต้องให้ได้รับโทษมากกว่าสาธารณะชน สองเท่า ถึงห้าเท่า
8. ระบบการศึกษา ทำให้คนฉลาด ทำมาหากินเอง อยู่บนขาตัวเองได้ ตามทันคน มีสติปัญญา ไม่ตกเป็นเครื่องมือของใครๆ ย่อมทำให้การตบตาประชาชน เพื่อผลประโยชน์ตนเองทำได้ยากขึ้น ปลูกฝังความรักชาติ
ยกเลิกการสอบ แอดมิชชั่นที่เรียนมากมายทำร้ายเด็กไทย ให้คิดไม่เป็น ลดเกณฑ์การศึกษาขั้นพื้นฐานที่ซ้ำซาก เลขาธิการคณะกรรมการ ห้าแท่ง ต้องใช้วิธี รับสมัคร และแข่งขันวิสัยทัศน์ ประเมินกันทุกสองปี หากไม่ถึงเป้า มาตรฐาน ที่ตั้งไว้ ต้องปรับออก
8 การตั้งสภาเยาวชน ที่ไม่อยู่ใต้อิทธิพลของใคร มีงบประมาณสนับสนุน และสถานที่ให้ทำกิจกรรมฟรี
9 เลือกตั้งนายกรัฐมนตรี รมต. ตัวแทนองค์กรอิสระ เช่น ปปช. กกต จังหวัด จากประชาชน ทั่วประเทศ ด้วยเกณฑ์เลือกตั้งที่แก้ไขแล้ว
10 มีตัวชี้วัด ประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล คุณธรรมจริยะธรรมในหน่วยงาน สร้างกรอบธรรมาภิบาล ระบบประชาธิปไตยให้ทุกหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ในหน่วยงาน ทั้งกับข้าราชการชั้นผู้น้อย ในสังกัด ประชาชนที่มาติดต่อ นักศึกษาในมหาวิทยาลัย นักเรียนในโรงเรียน มีการวัดประเมินผล และ จับต้องได้ มีผลต่อการให้โบนัส รางวัล เช่น การเปิดพื้นที่ให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนใช้สถานที่ของราชการ โรงเรียน มหาวิทยาลัย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สนับสนุนทั้งงบประมาณ สถานที่ พื้นที่สื่อ สนับสนุนการเคลื่อนไหวของประชาชน เยาวชน นักศึกษา ในรูปแบบของสภาประชาชน เช่น การมีส่วนร่วมในทุกระดับ การสนับสนุน การปลด สส. สว. รมต. ข้าราชการใหญ่ หรือนโยบายของรัฐ มติครม. และกฎหมายที่ออกมา ต้องโพสต์ให้ผ่านความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชน ( รัฐธรรมนูญ ม. 87 ) ทางเว็บไซด์ของสภาพัฒนาการเมือง หรือรัฐบาล หรือหน่วยงานในแต่ละกระทรวง
หรือ สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้การตัดสินใจ คิด ปฏิบัติ การสนับสนุนทรัพยากร การได้รับผลประโยชน์ มีส่วนร่วมในการประเมินผล ควบคุม ตรวจสอบ การจะขึ้นราคาค่าก๊าซ ค่าไฟฟ้า ควรมีความเห็นจากภาคประชาชนว่าขึ้นไปแล้วผู้ใดได้ประโยชน์ นายทุนหรือประชาชน หรือรัฐบาล
ทบทวนกฎหมายของตนที่มีปัญหา โดยเปิดให้ประชาชน และข้าราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เสนอความคิดเห็นร่วมด้วย และแก้ไขกฎหมาย ปปช . ไม่กำหนดอายุความ กฎหมายผลประโยชน์ทับซ้อน เช่นห้ามออกนโยบายเอื้อต่อเอกชน การฮั้วประมูล การให้สัมปทาน การอุ้มคู่แข่ง การขึ้นค่าก๊าซ ค่าไฟฟ้า ราคาน้ำมัน สินค้าต่างๆ การสร้างตลาดผูกขาด การส่งเสริม รร.กวดวิชา ต้องมีบทลงโทษจริงจังแก่ข้าราชการ ที่เอื้อประโยชน์แก่เอกชน และข้าราชการห้ามเป็นกรรมการในบริษัทกึ่งเอกชน หรือมีเอกชนถือหุ้นเช่นปตท.
กฎหมายพรรคการเมือง เช่น ห้ามทุกคน ทุกบริษัท นายทุน บริจาคให้พรรคเกิน 1 แสนบาท / คน / ปี
หากทำได้ทั้งหมดนี้ โดยเร็วเท่าใดจะเกิดผลดีต่อบ้านเมืองเท่านั้น จะเกิดมรรคผลต่อประชาชนทั้งแผ่นดินทันที ไม่ว่า รัฐบาลไหนๆ และ สามารถช่วยเหลือคนทั้งชาติทันที
ปรารถนาดีต่อแผ่นดิน
พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ปรับแก้ไขใหม่ 22 พย 2552
ประธานเครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
สรุป การเมืองประเทศไทย
เรื่องที่คนไทยทั้งประเทศมักมองข้าม ในการพัฒนาประชาธิปไตย และพัฒนาประเทศ
ประเด็นสำคัญๆ ที่สุด ของประเทศเรา อยากจะขอสะท้อนให้ผู้ที่รักชาติ และผู้ที่มีอำนาจ ได้โปรดนำไปพิจารณาในการแก้ไขปัญหา ชาติ หรือปฎิรูปการเมือง ดังนี้
1 ทุกท่านรักชาติ อยากได้ประชาธิปไตย ซึ่งการมีประชาธิปไตย คือการที่ทุกคนคิดว่าคือการเลือกตั้ง ซึ่งทุกท่านคงทราบดีว่า การเลือกตั้งทุกครั้งมักมีการโกงคะแนน การซื้อเสียง มักได้คนที่เงินทุนสูง กลุ่มอิทธิพล โดยร่วมกับข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่น การเลือกตั้งทุกครั้ง ไม่ว่า ผู้ว่ากทม . สส สว อบต อบจ การเลือกตั้งใหญ่ๆ ทุกครั้ง มักมีการใช้สื่อ การใช้ สำนักโพลล์ ชี้นำ
การที่หลายท่านคิดจะตั้งพรรคการเมือง แต่.......ท่านลองพิจารณาดู ในการเลือกตั้งหลายครั้ง คนดีๆๆทำไมไม่ได้รับเลือกเข้ามา นั่นหมายความว่า อาจจะมีการสั่งให้คนนั้นได้ คนนี้ห้ามได้
ขณะนี้ กกต ไม่ได้ให้เครือข่ายภาคประชาชนเข้าร่วมตรวจสอบการเลือกตั้ง ไม่มีงบประมาณให้ ทั้งที่ควรจะทำตามกฎหมาย แต่กลับไม่มี เพราะอะไร…เพื่อให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสามารถเข้ามาได้ตามสั่งหรือไม่ และที่ทุกพรรคไม่ออกมาโวยวายเพราะ พรรคตนเองก็ใช้วิธีนี้ในบางพื้นที่ เหมือนกันหรือไม่ การทีมีข่าวการใส่บัตรเป็นปึกๆ การพิมพ์บัตรเกิน เหล่านี้ล้วนมีผลต่อคะแนน ที่ได้
การที่พรรคบางพรรคที่มีนโยบายดีๆกลับถูกละเลยจากสังคม ทั้งที่เป็น ทางออกให้ชาติ เช่นบางพรรค ที่จะมีการขุดคอคอดกระ ให้ธนาคารเปิดเสรี ยกเลิกระบบแอดมิชชั่น ม.นอกระบบ หรือแม้นในบางครั้งที่คนดีอาสามารับใช้ชาติ แต่กลับถูกเมยเฉย กลับไม่ได้ถูกเลือก หลายๆครั้งทำไม คนดีถึงไม่ถูกเลือก เพราะฉะนั้น การที่เราจะพัฒนาประชาธิปไตย ในประเทศไทย ท่านต้องเรียกร้องตั้งแต่ตอนนี้เรื่องการแก้ไขเกณฑ์การเลือกตั้ง เช่น
- การให้ใช้เงินน้อยๆในการลงเลือกตั้ง ไม่ใช่การเลือกผู้ว่า กทม ให้ใช้งบได้ 32 ล้าน คนมีเงินมากย่อมได้เปรียบมากกว่า
- การใช้งบประชาสัมพันธ์โดยกกต ที่เป็นธรรม และ
- การให้สื่อที่ประชาสัมพันธ์อย่างเป็นธรรม
- การลงลายมือ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ ชื่อในบัตรลงคะแนนเพื่อป้องกันบัตรผี (เหมือนในสมัยคุณยุวรัตน์ กมลเวช ) แม้นจะบอกว่าเพื่อป้องกันชาวบ้านที่ขายเสียง ซึ่งเท่ากับการสนับสนุนให้เกิดการโกงคะแนน
- การกำหนดให้มีงบให้เครือข่ายภาคประชาชนร่วมตรวจสอบการเลือกตั้ง เช่น 10% ของงบเลือกตั้งทุกชนิด
- สามารถดักฟังโทรศัพท์ได้
- เครือข่ายที่ทำการซื้อสิทธิขายเสียงต้องติดคุกทุกน ไม่ว่าเลขา ที่ปรึกษา หัวคะแนน ญาติ เหมือนในญี่ปุ่น
- ต้องมีการเลือกกกต .จากคนทั้งจังหวัดนั้นๆ โดย บัตรลงคะแนนต้องมีลายมือของผู้เลือกตั้ง
ฯลฯ
นี่คือที่มาของการป้องกันการโกงคะแนน และป้องกันการโกงประชาธิปไตย เมือเราได้คนดีที่ประชาชนเลือกจริงแล้ว การปกครอง การร่างกฎหมาย ก็จะเป็นธรรมแก่ประชาชน แต่หากเราปล่อยให้คนโกงคะแนนเข้ามาเป็น สส สว แน่นอนเขาต้องมาถอนทุนคืน และมองไม่เห็น ประชาชน การบริหารประเทศ ก็จะ ไม่ได้ทำเพื่อประชาชน แต่ทำเพื่อตนเอง
2 การที่เราต้องการประชาธิปไตย คือการปกครองโดยประชาชนเพื่อประชาชน แต่ ประชาชนต้องมีความฉลาด รู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง สามารถทำมาหากิน ยืนอยู่บนขาตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพานักการเมือง ผู้มีอิทธิพล พ่อค้า นายทุน นั่นคือ ระบบการศึกษา ต้องทำให้คนฉลาด ประกอบอาชีพ ได้ มีองค์ความรู้พอสมควรในระบอบประชาธิปไตย รู้สิทธิ หน้าที่ของตนพอควร นั่นคือ ต้องมีสื่อ ทีวี หนึ่งช่องฟรี ในการให้ความรู้ประชาชนไม่ใช่ปิดหูปิดตา ปิดกั้น ความคิดเห็น ซึ่งอาจจะให้สภาพัฒนาการเมืองเป็น ผู้ทำหน้าที่ ซึ่งตามกฎหมายพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พศ ๒๕๕๑ได้กำหนดให้สภาพัฒนาการเมืองได้ทำหน้าที่ พัฒนาการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป้นพระประมุข สร้างความเข้มแข็งของการเมืองภาคพลเมือง (www.pdc.go.th www.parent-youth.net ) ซึ่งหากรัฐบาล จริงใจ ควรให้สื่อทีวี หนึ่งช่อง วันละครั้ง หนึ่งชั่วโมงเพียงพอ รวมทั้งให้ งบประมาณ พอควรในการปฏิรูป(พัฒนาการเมือง)การเมือง
3 สังคมไทย ตอนนี้เต็มไปด้วย สงครามจิตวิทยา ข้อมูลข่าวสาร พยายามดึงประชาชนเป็นพวก ให้มากสุด โดยให้ข้อมูลด้านเดียวเท็จบ้างจริงบ้าง เพื่อหลอกลวงประชาชน ที่มีหัวใจบริสุทธิ์ มีใจรักชาติ จิตใจดีงาม แต่ตามไม่ทันเกมส์ แม้น แต่ทหาร ตำรวจ นักเคลื่อนไหว ต่างๆ ก็ตาม หรือการโจมตี คนดี เป็นคนเลว คนเลวกลายเป็นคนดี ด้วยสงครามข้อมูลข่าวสารที่คนไทยมักเชื่อง่าย ๆ ขาดการคิดวิเคราะห์ไตร่ตรอง จนตกเป็นเครื่องมือของคนที่จ้องแสวงหาประโยชน์ ซึ่งน่าวิตกกังวลมาก ว่า ประชาชน ทหาร ตำรวจ จะถูกใช้เป็นเครื่องมือของนักการเมืองบางกลุ่มบางคน เช่นสร้างสถานการณ์ให้เกิดความวุ่นวายเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้าเลือดตก ยางออก เศรษฐกิจเสียหาย สร้างสถานการณ์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นจำเลย
แต่ประเทศชาติ ประชาชนรากหญ้า มีแต่เสียกับเสีย นักการเมืองบางกลุ่มบางคน มีแต่ได้กับได้ ฉวยโอกาสผ่านงบประมาณการทำโครงการใหญ่ๆต่างๆ ง่ายๆ สุดท้าย คนที่กอบโกย ก็โกยกันต่อ ไม่มีใครมาสนใจ จ้องมอง เช่น พวกกลุ่มพลังงาน แหล่งน้ำมันดิบ แหล่งก๊าซธรรมชาติ ต่างๆ ระบบการศึกษาที่รร. กวดวิชาเต็มเมือง ราคาสินค้าที่ไม่เป็นธรรม
4 พวกกลุ่มเคลื่อนไหว ไม่ได้ จัดการป้องกันปัญหาในระยะยาวคือการป้องกันเพียงเรื่องๆเป็นพักๆ แต่หากมีการวางระบบการตรวจสอบ เป็น ระยะยาว เช่น การจัดตั้งรัฐบาลเงา หรือสภาธรรมาภิบาล คือการติดตามทุกกระทรวง ในการออกนโยบาย ไม่ต้องหยุดไม่ว่าพรรคไหนๆ มาเป็นรัฐบาลถูกตรวจสอบหมด โดยแบ่งเป็นกระทรวงๆ ใครสนใจกระทรวงไหนก็หาข้อมูลว่า โครงการนโยบายที่ออกมานั้น มีประโยชน์กับประชาชนจริงไหม เช่นกระทรวงศึกษาขอ งบกลางปี แสนกว่าล้านเอาไปทำอะไรบ้าง ม.นอกระบบค่าเทอมแพงขึ้นคุณภาพดีขึ้นจริงไหม หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำให้เยาวชน อนาคตของชาติมีคุณภาพ หรือเป็นเครื่องมือหากินของ เครือข่ายโรงพิมพ์ ส่วนต่างดอกเบี้ยที่แพงๆ ใครได้ประโยชน แบงค์ชาติ กระทรวงการคลังทำหน้าที่อย่างบริสุทธิใจไหม หรือเอื้อประโยชน์ใคร เงินกู้รัฐบาล เกือบแสนล้านเอาไปทำอะไร มีประโยชน์ หรือตัวชี้วัดใดที่คาดว่าจะได้ผล การขึ้นค่าทางด่วน มีข้อกำหนด หรือเป็นธรรมไหม การขึ้นค่าเอฟที เป็นธรรมแก่ประชาชนหรือหมกเม็ด การให้สัมปทาน แหล่งก๊าซมีใครได้บ้าง ให้ผลตอบแทนอย่างไรแก่รัฐ ( ที่จริงชาวบ้านน่าเรียกร้องให้แบ่งกำไรให้ชุมชนนั้นๆ อย่างต่ำ 70 % ) ฯลฯ
5 องค์กรอิสระ กระบวนการศาลควรจะมีการถ่วงดุล ตรวจสอบ เช่นคณะลูกขุน
นี่คือการตรวจสอบการมีส่วนร่วมกับทุกรัฐบาล
พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี kamolpar@yahoo.com แก้ไข22 พย 52
www.thammapiban.com
การแก้ไขปัญหาการเมือง ที่สำเร็จของญี่ปุ่น
การป้องกันปัญหาการซื้อเสียงอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
เมื่อประชาธิปไตยทางอ้อม แบบตัวแทน ต้องมีผู้แทนประชาชน เข้าไปใช้อำนาจแทนประชาชน ในสภา หากตัวแทนเข้าไปเป็นคนดีทำเพื่อชาติบ้านเมืองจริง ประชาชนก็จะมีความสงบสุข แต่ในปัจจุบันผู้แทนกว่า 80 % เข้าไปใช้อำนาจเพื่อตนเองและพวกพ้องมากกว่า ประชาชน และจากที่ประชาชนรับรู้ว่ามีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันในการเลือกตั้งทุกชนิด ไม่มีการมีส่วนร่วมตรวจสอบจากภาคประชาชน ทำให้ผู้แทนที่เข้ามาได้ไม่ใช่ผู้แทนที่แท้จริงของประชาชน ทำให้เกิดการคอรัปชั่นอย่างมากมายแต่ประชาชนกลับยากจนลง ชนชั้นผู้บริหารไม่ว่านักการเมือง ข้าราชการผู้ใหญ่ ต่างมีความร่ำรวยกันมากมาย และรวยขึ้นๆๆๆ ดังนั้น ทางแก้ไขที่ตัดไฟ และวงจรของการทำร้ายประเทศคือต้อง ทำให้ที่มาของนักการเมืองได้คนดีที่ไม่ใช่นักเลง ผู้มีอิทธิพล หรือนายทุนหนุนหลัง ไม่ใช่ซื้อเสียงเข้ามา ในญี่ปุ่นเขาเห็นปัญหาเช่นเดียวกับเรา แต่เขาแก้ไขปัญหาได้แล้วดังนี้
ญี่ปุ่นแก้ไขปัญหาการซื้อเสียงสำเร็จแล้ว
อดีตสมาชิกวุฒิสภา อุดร ตันติสุนทร ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "ญี่ปุ่นปฏิรูปการเมืองโดยปฏิรูปนักการเมืองสำเร็จแล้ว" ในบทความสั้นๆ ดังกล่าว อดีตสมาชิกวุฒิสภา อุดร ตันติสุนทร ได้มีการท้าวความถึงการฉ้อราษฎร์บังหลวงของนักการเมืองญี่ปุ่น ซึ่งเกี่ยวพันกับนายกรัฐมนตรีทานากะในกรณีขออนุมัติซื้อเครื่องบิน Lockheed L1011 และนายกรัฐมนตรีทาเกชิตะในกรณีที่บริษัทรีครู้ท ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ได้ขายหุ้นให้แก่เลขา ภรรยาและลูกนักการเมือง ในราคาต่ำสุด ทำให้มีกำไรจากการขายหุ้นคืน และผลสุดท้ายนายทาเกชิตะต้องลาออก จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นตื่นตัวและเห็นพ้องต้องกันว่า การซื้อเสียงเป็นความอัปยศของชาวญี่ปุ่นทั้งชาติ ดังนั้นจึงต้องปฏิรูปนักการเมืองโดยรีบด่วน
อดีตสมาชิกวุฒิสภา อุดร ตันติสุนทร ได้สรุปกระบวนการการปฏิรูปนักการเมืองของญี่ปุ่นเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการ เมืองในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยไว้โดยสังเขปว่า มี ส.ส. หนุ่มกลุ่มหนึ่ง นำโดย ส.ส. ฮาตะ และ ส.ส. โฮโซกาวา โดยได้ร่วมกันเสนอแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งใหม่ และผ่านสภาได้เป็นผลสำเร็จ มีสาระสำคัญดังนี้
1. ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ต้องอายุ 20 ปีขึ้นไป เพราะถือว่าเป็นผู้มีภาวะเป็นผู้ใหญ่แล้ว (ทั้งนี้ เพื่อให้มีวุฒิภาวะเพียงพอต่อการตัดสินใจในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ ส่วนรวมและส่วนตัว โดย คำนึงถึงอนาคต สังคมและประเทศชาติเป็นหลักได้ **ผู้เขียน)
2. ห้ามแจกเงิน แจกของ หรือกระทำการใดๆ ที่ส่อไปในทางหาคะแนนนิยมโดยการเอาใจราษฎรในทางที่ผิดทำนองคลองธรรมทั้งนี้ ทั้งเวลาก่อนเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง
3. โปสเตอร์มีได้ขนาดเดียว 42 x 42 ซม. และต้องไปปิดไว้ที่แผ่นป้ายของ กกต. เท่านั้น ปิดที่อื่นผิดกฎหมาย
4. การปราศรัยหาเสียง ให้ทำได้ในที่ชุมชนหรือห้องประชุม จะโฆษณาไปตามท้องถนนไม่ได้ ผิดกฎหมาย
5. ระยะเวลาในการหาเสียงเลือก ส.ว./ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เวลา 17 วันนายกเทศมนตรี 14 วัน, ส.ส. 12 วัน ที่ให้เวลาน้อยเพราะเขาถือว่า คนดีนั้นเขาเป็นผู้ทำดีมาโดยตลอดแล้วไม่ใช่มาดีตอนหาเสียง
6. ให้มีศาลเลือกตั้ง คดีเลือกตั้ง เป็นคดีอาญายอมความไม่ได้
7. ผู้สมัครที่ทำผิดกฎหมายให้รวมถึงผู้เกี่ยวข้องด้วย เช่น ญาติพี่น้อง เลขา ที่ปรึกษา (Joint responsibility) ถูกลงโทษหมด แล้วแต่ใครเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งมากน้อยเพียงใด ก็รับโทษเท่านั้น
8. ผู้ทำผิดกฎหมายเลือกตั้งต้อง "เข้าคุก" อย่างเดียว ไม่มีการปรับ
ที่สำคัญต้องมีการลงโทษที่เด็ดขาดเพื่อให้เป็นตัวอย่างและเพื่อการป้องปราม (Deterrence) โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทษการจำคุก เพราะในแง่หนึ่งคนที่โกงการเลือกตั้งคือคนที่ทำลายระบอบการเมืองการปกครอง ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายประเทศชาติ จึงเป็นการกระทำที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมโดยรวม
ขอเพิ่มเติมของไทย พท.พญ..กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี 14 ตค 2552
-ให้มีการลงชื่อในบัตรเลือกตั้ง เพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนบัตร หรือ หิบบัตร หรือบัตรผี
-ให้มีงบประมาณสำหรับเครือข่ายภาคประชาชนร่วมตรวจสอบการเลือกตั้ง เพื่อป้องกันการโกงคะแนน
-ให้นับคะแนนหน้าหน่วยเลือกตั้ง และแจ้งคะแนนไว้ทุกหน่วยเลือกตั้งหลังนับคะแนน เพื่อป้องกันการโกงคะแนน
-งบเลือกตั้งใม่เกิน ห้าหมื่นบาทต่อครั้ง รวมถึงผู้ว่า ราชการ กทม
-ห้ามสื่อเชียร์หรือเสนอข่าวคนใดคนหนึ่งมากกว่าผู้อื่นๆ เพื่อป้องกันการสร้างกระแสให้เลือกคนใดคนหนึ่งที่นายทุนกำหนด
-การเปิดโอกาสให้สามารถ ดัดฟังโทรศัพท์ ในผู้สมัคร หรือผู้เกี่ยวข้อง
- มีการเลือกตั้งกกต จังหวัด โดยบัตรเลือกตั้ง ต้องมีลายเซ็นต์ ผู้เลือกตั้ง
“สภาธรรมาภิบาล” ความหวังและอนาคต ของชาติ www.thammapiban.com
(ดัดแปลงจาก พมร นวรัตนากร ๑๗ ม.ค. ๕๒)
(แนวทางองค์กร สร้างความเข้มแข็งภาคพลเมืองเป็นการพัฒนาการเมืองภาคปฏิบัติ )
หลักการและเหตุผล
การมีสภาธรรมาภิบาล เป็นองค์กรทางการเมืองใกล้ตัว หรือ ใกล้บ้าน และโดยประชาชนตนเอง คอยเป็นหูเป็นตา ให้การศึกษา ปลูกปัญญารักษาประโยชน์ของชุมชน และของชาติ ส่งเสริมการใช้อำนาจทางการเมือง จึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการพัฒนาการเมืองไทย เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีระมหากษัตริย์เป็นประมุข สามารถยังประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม ตามพระราชปณิธาน
รูปแบบ
องค์ประกอบของสภาต้องมาจากเบญจภาคี - มี รัฐ ราษฎร์ ปราชญ์ ศาสน์ สื่อ – หรือมีนิ้วมือครบทั้ง ๕ การคัดเลือกสมาชิกสภา ต้องดูที่จิตอาสา ความสามารถ และความพร้อมที่จะทำงานเพื่อชาติบ้านเมือง
บทบาทของสภา
๑. ให้ความรู้ทางการเมืองแก่สมาชิกสภาและประชาชนทั่วไป
๒. ส่งเสริมการนำหลักธรรมของศาสนามาพัฒนาการเมืองการปกครอง
๓. ให้คำแนะนำในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองแก่ประชาชน
๔. ร่วมมือกับราชการ และองค์การอื่นในการพัฒนาสังคม
๕. ส่งเสริม ความสามัคคีในหมู่สมาชิกและประชาชนทั่วไป
๖ ประสานงาน ส่งเสริมให้ประชาชนได้ร่วมตัวกัน และสามารถใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ
การขยายฐานเครือข่าย
ภาคประชาชนที่มี จิตอาสา เชื่อมโยงบุคคลในเครือข่าย ไปยังแกนนำองค์กรอื่น ๆ เพื่อเชิญเข้าร่วมองค์กร (ส.ว. ส.ส. สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง (สพม.) ผู้แทนศาสนา)
- วัตถุประสงค์
- เพื่อขยายเครือข่ายภาคประชาชนให้เข้มแข็ง ยิ่งมากยิ่งดี
- เพื่อปกป้องสิทธิและอำนาจของประชาชนให้มีสิทธิตามกฎหมาย เช่น ราคาพลังงาน ราคาสินค้า ค่าไฟฟ้า ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงการจัดการการศึกษาที่ไม่เป็นธรรม
- เพื่อติดตามนโยบายของรัฐบาล และสะท้อนความต้องการของประชาชน
- เพื่อติดอาวุธทางปัญญาให้แก่ประชาชนในด้านสิทธิ หน้าที่ อำนาจอธิปไตย และความรู้ด้านอื่น ๆ
- เพื่อเชื่อมโยงและเผยแพร่ความรู้ หรือข้อมูลเชิงลึกให้แก่กันและกัน
- ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
-เชิญแกนนำมาร่วมระดมสมอง หาประเด็นที่สำคัญและเรื่องด่วน เช่น เกณฑ์การเลือกตั้งที่เป็นธรรม ไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง เรื่องราคาพลังงาน การจัดการการศึกษาที่เป็นธรรม แบ่งหน้าที่ตามความถนัด เช่น ด้านที่ปรึกษากฎหมาย ด้านการศึกษา ด้านพลังงาน ด้านการเมือง ด้านสังคม/เด็กและเยาวชน ด้านความยุติธรรมและศาล ร่วมกันเป็น สภาธรรมาภิบาล
ขอเชิญชวนประชาชน ทุกกลุ่มและนักวิชาการ ฯลฯ ร่วมกันเป็นเครือข่ายฟรี
0812980284 027637722 thai9lee@gmail.com
สมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ www.parent-youth.net
วัตถุประสงค์
(1) เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของสมาชิกในด้านการศึกษาของบุตรหลาน
(2) รับเรื่องราวร้องทุกข์จากสมาชิกที่ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย อันเนื่องจากการกระทำของผู้มีอำนาจจัดการศึกษา/ผู้บริหารโรงเรียน เพื่อเสนอต่อรัฐบาลและ/หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(3) เพื่อดำเนินการคุ้มครองสิทธิของสมาชิก ร่วมกับส่วนราชการ องค์กรอิสระ หรือสถาบันการศึกษา เพื่อป้องกันมิให้สมาชิกถูก ละเมิดสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติการศึกษา
(4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้รัฐจัดการศึกษาตามหลักการและผลวิจัยของสมอง และตามรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติการศึกษา
(5) ส่งเสริมและสนับสนุน เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผลวิจัยของสมอง ที่นานาอารยะประเทศได้ทำไว้และความรู้อื่น ๆ ที่มีประโยชน์แก่สมาชิก พ่อแม่ ผู้ปกครอง ประชาชน และผู้สนใจ
(6) ส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายผู้ปกครองทั่วประเทศ
(7) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างสมาชิก
(8) ไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิการเมืองใด ๆ
ไม่อยากเสียลูกไป ใส่ใจการเลี้ยงดู
มาดูแลสุขภาพกัน
มาทำความรู้จักสมองและเซลล์สมองของเรา
คำคม
โดย คุณ กองสิน แรงดี
นายกสมาคมคนตาบอดจังหวัดจันทบุรี
ประธานสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัดจันทบุรี
สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง ๗(๒)
คณะผู้จัดทำ
ที่ติดต่อ
กองทุนพัฒนาการเมือง
สมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ
ชมรมคนพิการพัฒนาตนเองคลองเตย