สัมมนาวิชาการ "การคิดค่าเสียหายคดีความโลกร้อน : นัยทางวิชาการและกระบวนการยุติธรรม"
Fri, 2010-07-23 04:58
การสัมมนาวิชาการ
การคิดค่าเสียหายคดีความโลกร้อน : นัยทางวิชาการและกระบวนการยุติธรรม
วันที่ 29 กรกฎาคม 2553
ณ ห้องประชุมจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่มา
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) ซึ่งเป็นเครือข่ายเกษตรกรรายย่อยที่ประสบปัญหาความไม่มั่นคงในสิทธิด้าน ที่ดินทำกินทั้งในเขตที่ดินเอกชนและที่ดินของรัฐ อาทิเช่น ที่อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่ดินสาธารณะประโยชน์ ที่ดินราชพัสดุ ที่ดินสปก.ฯลฯ ซึ่งเป็นสาเหตุให้สมาชิกของเครือข่ายฯถูกข่มขู่ คุกคาม ทำลายทรัพย์สิน จับกุมและดำเนินคดี ทั้งจากหน่วยงานของรัฐและบริษัทเอกชนมาโดยตลอด
การรวบรวมข้อมูลคดีความล่าสุดปี 2553 โดยทีมทนายความของเครือข่ายฯ พบว่ามีสมาชิกที่ถูกดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา(ข้อหาบุกรุก) ทั้งหมด 131 คดี จำนวน 500 ราย จากทั่วประเทศ และได้จำแนกเป็นสมาชิกที่ถูกดำเนินคดีความทางแพ่ง ข้อหาทำให้โลกร้อน จำนวนทั้งสิ้น 30 รายมูลค่าความเสียหายโดยรวม17,559,434 บาท โดยเกษตรกรเหล่านี้ ถูกฟ้องร้องคดีอาญาในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าของรัฐ ทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามาแล้วทั้งสิ้น ก่อนที่จะถูกดำเนินคดีความทางแพ่ง
การคิดค่าเสียหายคดีความทางแพ่ง ในข้อหาทำให้โลกร้อน ในพื้นทีสมาชิก คปท. เริ่มขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2548 เมื่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีหนังสือด่วนที่สุดที่ ทส. 0903/14374 ลงวันที่ 6 กันยายน 2548 ถึงสำนักอัยการจังหวัดพัทลุง เพื่อแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับการคำนวณค่าเสียหาย ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มาตรา 97 ที่ระบุว่า “กำหนดให้ผู้ใดที่กระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการทำลายหรือทำให้สูญหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติหรือสาธารณะสมบัติของ แผ่นดิน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่รัฐจากมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากร ธรรมชาติที่ถูกทำลายสูญหายหรือเสียไปแล้ว” ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้คำนวณค่าเสียหายของป่าต้นน้ำตามหลักการแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อันระกอบ ด้วยรายะเอียดคือ
1) การทำให้สูญหายของธาตุอาหาร คิดค่าเสียหาย 4,064 บาทต่อไร่ต่อปี เป็นการคิดค่าใช้จ่ายในการซื้อแม่ปุ๋ยไนโตรเจน,ฟอสฟอรัส และโปแทสเซี่ยมขึ้นไปโปรยทดแทน
2) ทำให้ดินไม่ดูดซับน้ำฝน 600 บาทต่อไร่ต่อปี
3) ทำให้น้ำสูญเสียออกไปจากพื้นที่ โดยการแผดเผาของดวงอาทิตย์ 52,800 บาทต่อไร่ต่อปี คำนวณจากการเปลี่ยนแปลงความสูงของน้ำจาก 3 ส่วนคือน้ำที่ดินไม่ดูดซับ น้ำจากการคายระเหย และฝนตกน้อยลงคิดเป็นปริมาตรน้ำทั้งหมดต่อพื้นที่ 1 ไร่ แล้วคิดเป็นค่าจ้างเหมารถบรรทุกเอาน้ำไปฉีดพรมในพื้นที่เดิม
4) ทำให้ดินสูญหาย 1,800 บาทต่อไร่ต่อปี คิดเป็นค่าใช้จ่ายในการบรรทุกดินขึ้นไปและปูทับไว้ที่เดิม
5) ทำให้อากาศร้อนมากขึ้น 45,453.45 บาทต่อไร่ต่อปี คิดคำนวณจากปริมาตรของอากาศในพื้นที่ที่เสียหายเอามาคูณด้วย ความหนาแน่น (1.153x10-3ตันต่อลูกบาศก์เมตร) เพื่อหามวลของอากาศ แล้วใช้มวลหาปริมาณความร้อนที่ต้องปรับลด หลังจากนั้นเอาจำนวน B.Th.U ของเครื่องปรับอากาศขนาด 1 ตัน (3,024,000 แคลอรี่ ต่อชั่วโมง)มาหารเพื่อจะได้รู้ว่าต้องใช้เครื่องปรับอากาศเท่าไหร่ แล้วคิดค่ากระแสไฟฟ้าสำหรับเดินเครื่องปรับอากาศเพื่อให้อุณหภูมิของอากาศ เย็นลงเท่ากับพื้นที่ที่มีป่าปกคลุม
6) ทำให้ฝนตกน้อยลง คิดค่าเสียหาย 5,400 บาทต่อไร่ต่อปี
7) มูลค่าความเสียหายทางตรงจากป่าสามชนิด คือ
7.1) การทำลายป่าดงดิบค่าเสียหายจำนวน 61,263.36 บาท
7.2) การทำลายป่าเบญจพรรณ ค่าเสียหายจำนวน 42,577.75 บาท
7.3) การทำลายป่าเต็งรัง ค่าเสียหายจำนวน 18,634.19 บาท
เมื่อนำค่าเฉลี่ยของมูลค่าความเสียหายทางตรงจากป่าสามชนิด(ตามข้อ 7.1-7.3)ซึ่งมีค่าเท่ากับ 40,825.10 บาทต่อไร่ต่อปี มารวมกับมูลค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม(ข้อ1-6) จำนวน 110,117.60 บาทต่อไร่ต่อปี รวมมูลค่าทั้งหมดเท่ากับ 150,942.70 บาท แต่เพื่อความสะดวกกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชคิดค่าเสียหายจำนวน 150,000 บาทต่อไร่ต่อปี
การกล่าวหาว่าเกษตรกรรายย่อย ซึ่งมีวิถีชีวิตทำมาหากินตามปกติดังที่เกษตรกรทั่วไปปฏิบัติกัน ได้แก่ การปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ ปลูกข้าวโพด ทำสวนผลไม้ และทำสวนยางพารา ว่าเป็นผู้ต้องหาทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ฝนตกน้อยลง และอุณหภูมิสูงขึ้น กลายเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันอย่างสำคัญในสังคม แม้แต่นักวิชาการด้านสังคม ด้านการเกษตร และด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ก็ยังไม่สามารถเข้าใจ พื้นฐานทางวิชาการ อันเป็นที่มาของการคิดค่าเสียหายในคดีความเหล่านี้ได้
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ร่วมกับชุมชนผู้ถูกดำเนินคดีในพื้นที่ และสถาบันทางวิชาการ จึงได้ใช้กรอบทางด้านสังคม และด้านวิทยาศาสตร์ ในการศึกษาความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตการทำมาหากินตามปกติของเกษตรกรรายย่อยใน ชุมชนที่ถูกคดี กับภาวะโลกร้อน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ในประเด็นการตั้งถิ่นฐานดั้งเดิมของชุมชน การใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์คำนวณอายุต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดเพื่อชี้ให้เห็น ถึงจำนวนปีที่มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชน การศึกษาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อคำนวณปริมาณธาตุคาร์บอนที่ชุมชนกักเก็บ และดูแลรักษาไว้ในพื้นทีป่าชุมชน และในระบบการผลิตที่ชุมชนดำเนินอยู่ เพื่อชี้ให้เห็นถึง วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรและทำการผลิตแบบยังชีพ ที่ขัดแย้งกับข้อกล่าวหาการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เห็นว่า การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเกษตรกรรายย่อยซึ่งทำมาหากินตามวิถีชีวิตปกติ (เพียงแต่มีประเด็นขัดแย้งกับรัฐในเรื่องสิทธิที่ดินทำกิน) เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการอยู่อาศัย และการทำกินตามวิถีดั้งเดิมซึ่งพึงมีในสังคมไทย ซึ่งแท้ที่จริงควรจะได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ดูแลรักษาต้นไม้ เป็นผู้ทำให้เกิดภาวะโลกเย็น เนื่องจากการดำเนินวิถีชีวิตของเกษตรกรรายย่อย ด้วยวิธีการทำการผลิตแบบดั้งเดิม การใช้ทรัพยากรในป่าอย่างยั่งยืน และ การดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น รวมทั้งมีกฎ กติกา ในการทำการผลิตและใช้ทรัพยากรร่วมกัน ผ่านการควบคุมขององค์กรชุมชน เป็นรูปแบบการผลิตและการใช้ทรัพยากร ที่ไม่ได้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ หรือทำให้เกิดความสูญเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติแต่อย่างใด
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนวงกว้าง ในการทำความเข้าใจต่อสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชน รวมถึงสถานการณ์การฟ้องร้องคดีความกับเกษตรกรรายย่อย และเพื่ออภิปรายถึงคุณลักษณะทางวิชาการ ข้อกล่าวหาทางคดีที่เกิดขึ้น กับความเป็นธรรมทางวิชาการและกระบวนการยุติธรรม เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย จึงได้จัดให้มีเวทีสัมมนาทางวิชาการขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อระดมความเห็นจากสาธารณะ นักวิชาการ นักกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญ สื่อมวลชน ต่อสถานการณ์การฟ้องร้องคดีความทางแพ่ง ข้อหาทำให้โลกร้อน
2. เพื่อทำความเข้าใจกับสื่อและสาธารณะ ในประเด็นวิถีการผลิตและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนของชุมชน
3. เพื่อนำเสนอแนวทางนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนวิถีการผลิตและการจัดการ ทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อสร้างให้เกิดความมั่นคงทางอาหารและสร้างความสมดุลทางสิ่งแวดล้อม อันเป็นการบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน
กำหนดการเวทีสัมมนาวิชาการ
การคิดค่าเสียหายคดีความโลกร้อน: นัยทางวิชาการและกระบวนการยุติธรรม
8.30 – 09.00 น. | ลงทะเบียน |
09.00 – 09.10 น. | ชี้แจงวัตถุประสงค์และรายละเอียดกำหนดการ โดย คุณบัณฑิตา อย่างดี เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย |
09.10 – 09.30 น. | เปิดการสัมมนา โดย อ.ธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย |
09.30 – 09.40 น. | ชมวีดีทัศน์วิจัยชุมชนสู้คดีความโลกร้อน |
09.40 –11.40 น. |
โดย คุณอารีวรรณ คูสันเทียะ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย
โดย ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
โดย ดร.เดชรัต สุขกำเนิดคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โดย คุณแสงชัย รัตนเสรีวงษ์ ทนายความอิสระ
โดย ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการโดย คุณณัฐฐา โกมลวาทิน ทีวีไทย* |
11.40 - 12.30 น. | รับฟังความเห็นจากผู้เข้าร่วมและพูดคุยแลกเปลี่ยน |
12.30 – 13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน (ณ ห้องสิงห์ดำ ชั้น 1 อาคารสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์) |
13.00 – 15.00 น. | รับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมและพูดคุยแลกเปลี่ยน(ต่อ) |
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น