วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

วันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2552 ณ ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 9.30 - 15.30 น.


เสวนา - เจตนารมณ์และกลไกตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67

by : องค์กรร่วมจัด
IP : (124.122.147.51) - เมื่อ : 4/09/2009 12:23 PM

วง เสวนา เรื่อง "เจตนารมณ์และกลไกตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67"
วันที่ 10 กันยายน 2552 เวลา 9.30-15.30 น.
ณ ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

"เมื่อสิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ถูกละเมิด
เมื่อสัญญาประชาคมไม่ได้รับการเคารพจากรัฐบาล
ประชาชนจึงต้องรวมตัวกัน"

สืบเนื่องจากที่ประชาชนและชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการขนาดใหญ่ ทั้งของรัฐและของเอกชน ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิดังกล่าวไว้ ซึ่งถือเป็นสัญญาประชาคมที่รัฐบาลต้องปฏิบัติตาม แต่ประชาชนและชุมชนกลับถูกละเมิดสิทธิดังกล่าวจากแนวนโยบายและการปฏิบัติของ หน่วยงานรัฐเรื่อยมานับตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อ 24 สิงหาคม 2550 การเผชิญหน้าระหว่างผู้ประกอบการและชุมชนในพื้นที่เป็นสิ่งที่คาดหมายได้ ในสถานการณ์ที่สัญญาประชาคมถูกละเมิดและอาจนำไปสู่ความรุนแรง จึงเป็นที่มาของการจัดเสวนาวิชาการเรื่อง "เจตนารมณ์และกลไกตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67" ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2552 ณ ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 9.30 - 15.30 น.

เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนมุมมอง ข้อคิดเห็นของนักวิชาการและชุมชน ที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อชุมชนอย่างรุนแรง ถึงสภาพปัญหาและภาพความเป็นจริงของประชาชนและชุมชนเกี่ยวกับการบังคับใช้ กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 และมีข้อเสนอแนะในการพัฒนากลไกการดำเนินงานให้เกิดการบังคับใช้เพื่อคุ้ม ครองประชาชนและชุมชนตามเจตนารมณ์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 67 อย่างแท้จริง

เนื่องจากประเด็นนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะที่มีผลต่อการคุ้มครองสิทธิของประชาชนและชุมชน รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงขอเรียนเชิญนักข่าวทุกท่านเข้าร่วมรับฟังการเสวนา และนำเสนอข่าวสู่สาธารณชนต่อไป

ตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วม

  1. กรณีเหมืองทองคำจังหวัดพิจิตร จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิษณุโลก
  2. กรณีเหมืองใต้ดินโปแตซ จังหวัดอุดรธานี
  3. กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง กรณีโรงถลุงเหล็กอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  4. กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด
  5. กลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก-กุยบุรี
  6. กรณีโรงไฟฟ้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
  7. กรณีโรงไฟฟ้า จังหวัดสระบุรี

องค์กรร่วมจัด

  1. โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)
  2. โครงการติดตามการเมืองภาคประชาชน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต (AEPS)
  4. มูลนิธิบูรณะนิเวศ
  5. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กปอพช.)
  6. มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
  7. เครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย
  8. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
นางสาวสุภาภรณ์ มาลัยลอย 086-8418186
น างสาวรัตนา ปานกลิ่น 089-449 7458



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก