วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

เชิญร่วมสัมมนาเรื่อง "คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค"

เชิญร่วมสัมมนาเรื่อง “คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค” :

by : pijawat (pijawat)
Mail to rothphai-tom@hotmail.com
IP : (124.120.155.203) - เมื่อ : 11/09/2009 12:21 PM

วันที่ 10 กันยายน 2552

เรื่อง ขอ เชิญร่วมสัมมนาเรื่อง “คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค”

คณะทำงานไทยเพื่อจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคอาเซียน ร่วมกับ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และองค์กรเครือข่าย อันได้แก่ มูลนิธิเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (ProRights) มูลนิธิสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติธรรม (สสธ.) และคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) กำหนดจัดการสัมมนา เรื่อง “คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค” ในวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2552 ระหว่างเวลา 12.30 – 17.30 น. ณ ห้องประชุมนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา

การสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนและอาเซียน ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) กับทั้งใช้เป็นโอกาสในการระดมความคิดเห็นความคาดหวังเกี่ยวกับการทำงานของผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการฯ รวมถึงร่วมกันกำหนดบทบาทภาคประชาสังคมในการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการฯ และพิจารณาถึงอนาคตของกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนที่พึงประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประชาคมอาเซียน

เพื่อให้การสัมมนาครั้งนี้มีบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนและคิดร่วมกันอย่างแท้จริง จึงขอเรียนเชิญท่านในฐานะที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ประชาคมอาเซียน เข้าร่วมการสัมมนาตามวัน เวลาข้างต้น ดังรายละเอียดปรากฎในเอกสารที่แนบ (การสัมมนาจัดเป็นภาษาไทย)


จึงเรียนมาเพื่อเข้าร่วมการสัมมนาด้วย จะขอบคุณยิ่ง

ขอแสดงความนับถือ
(ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี)
ประธาน คณะทำงานไทยเพื่อจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคอาเซียน
ติดต่อยืนยันการเข้าร่วมสัมมนาได้ที่
อนุชา 087-106 5808 หรือ 02–275 4231, ศันสนีย์ 081-862 8614, บุญแทน 081–866 2136
หรือ อีเมล์  twg_hrmechanism@yahoo.com


โครงการ สัมมนา เรื่อง
“คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค”
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2552 เวลา 12.30 – 17.30 น.
ณ ห้องประชุมนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา

หลักการและเหตุผล

กว่า 40 ปีนับจากการก่อตั้ง อาเซียนในปัจจุบันเป็นองค์กรที่มีสถานะทางกฏหมายรองรับเช่นเดียวกับองค์กรระดับภูมิภาคอื่นๆ เมื่อ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ให้สัตยาบันกฏบัตรอาเซียนในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 13 ที่ประเทศสิงคโปร์

แถลงการณ์ร่วมของผู้นำอาเซียนที่ประเทศสิงคโปร์ ย้ำว่า “การลงนามรับรองปฎิญญาอาเซียน เป็นเสมือนการปักหมุดทางประวัติศาสตร์สำหรับอาเซียน แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นร่วมกันที่มีต่อการพัฒนาประชาคมอาเซียนให้เป็นภูมิภาคแห่งสันติภาพ เสถียรภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ร่วมกันก้าวไปสู่ความเจริญทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม” ผู้นำอาเซียนยังยืนยันว่า “เรายังคงมุ่งมั่นจะสร้างอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เป็นอาเซียนที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน และยินดีสนับสนุนความพยายามที่จะสถาปนากระบวนการปรึกษาหารือระหว่างผู้นำและภาคอื่นๆของสังคม โดยมีสำนักงานเลขาธิการอาเซียนอำนวยความสะดวก อาเซียนยินดีรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกลุ่มต่างๆ จากภาคประชาสังคม กับเห็นความจำเป็นที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจและความพยายามในการสร้างชุมชนอาเซียนที่ให้ความ สำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีและการดำรงชีพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสต่างๆในสังคม การส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสิทธิมนุษยชน...”

แถลงการณ์ฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้นำอาเซียนในการสร้าง “อาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง” และ การขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่ “อาเซียนที่เป็นประชาธิปไตย” มุ่งมั่นในหลักธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชน การระบุให้มีองค์กรสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคถือเป็นการก้าวย่างสำคัญของอาเซียน ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนครั้งล่าสุด เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ได้มีการรับรอง Terms of Reference (TOR) ที่เสนอโดยคณะผู้แทนระดับสูง (High Level Panel) เพื่อการจัดตั้ง “คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights -AICHR) ทั้งนี้จะได้มีการแถลงการณ์จัดตั้งคณะกรรมาธิการฯ นี้อย่างเป็นทางการในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำรัฐอาเซียน (ASEAN Summit) ในเดือนตุลาคมศกนี้

อย่างไรก็ดี ยังมีความเห็นที่หลากหลายต่อบทบาทและภารกิจของ คณะกรรมาธิการฯ ที่จะจัดตั้งขึ้น และมีประเด็นห่วงกังวลในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการสรรหาผู้แทนในบรรดาประเทศสมาชิก ความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง อำนาจในการติดตาม ตรวจสอบ และจัดทำรายงานสิทธิมนุษยชน รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของ คณะกรรมาธิการฯ นี้ เป็นอย่างยิ่ง

เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับกลไกสิทธิมนุษยชน และเพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับการดำเนินงานและอนาคตของคณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าว คณะทำงานไทยเพื่อการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคอาเซียน เห็นความจำเป็นที่จะต้องติดตามและนำเสนอข้อคิดเห็นที่สร้างสรรค์ดังเช่นที่ได้ดำเนินการมาตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาในการผลักดันให้มีกลไกสิทธิมนุษยชนนี้ จึงดำริจัดการสัมมนาร่วมกับกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และองค์กรเครือข่าย โดยคณะทำงานฯ คาดหวังว่าการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เชี่ยวชาญและผู้สนใจจากสาขาที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากภาคประชาสังคม และประชาชน รวมถึงผู้แทนจากอาเซียนและภาครัฐ จะนำมาซึ่งข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และจะนำพาอาเซียนไปสู่ความเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชน

วัตถุประสงค์การสัมมมนา
1. เพื่อสร้างเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR)
2. เพื่อระดมความคิดเห็นความคาดหวังเกี่ยวกับการทำงานของผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR)
3. เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดบทบาทภาคประชาสังคมในการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR)
4. เพื่อพิจารณาถึงกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนในอนาคตที่พึงประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่ประชาคมอาเซียน (5 ปีข้างหน้า)

รูปแบบการสัมมนา จัดเวทีอภิปรายโดยผู้ทรงวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง และแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น

ผู้เข้าร่วมสัมมนา
กลุ่มเป้าหมายประมาณ 70-100 คน จาก ตัวแทนภาครัฐและเอกชน นักวิชาการที่สนใจประเด็นอาเซียนและสิทธิมนุษยชน นักสิทธิมนุษยชนจากองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรตัวแทนภาคประชาชน เครือข่ายเยาวชน คณะกรรมการสรรหาผู้แทนไทยใน AICHR คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สมาชิกวุฒิสภา สื่อมวลชน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความเข้าใจเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR)
2. ได้ข้อสรุปความคาดหวังเกี่ยวกับการทำงานของผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR)
3. กำหนดบทบาท (ความสัมพันธ์ระหว่างภาคประชาสังคมกับ AICHR) ในการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
4. ได้ข้อเสนอแนะถึงกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนในอนาคตที่พึงประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่ประชาคมอาเซียน (5 ปีข้างหน้า)

สถานที่ ห้องประชุมนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา




กำหนดการสัมมนา เรื่อง
“คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกับการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนในภูมิภาค”

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2552 เวลา 12.30 – 17.30 น.
ณ ห้องประชุมนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา


12.30 – 13.00 ลงทะเบียน
13.00 – 13.05 กล่าวต้อนรับ โดย ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี
ประธาน คณะทำงานไทยเพื่อจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคอาเซียน
13.05 - 13.15 เปิดการสัมมนา โดย นายวิทวัส ศรีวิหค อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
13.15 - 13.50 ทำความรู้จักคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) โดย ศ. วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13.50 - 15.15 อภิปราย “คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กับการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค นานาทัศนะ”
โดย นายวิทวัส ศรีวิหค อธิบดีกรมอาเซียน
ศ. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
นายเกียรติชัย พงษ์พานิช บรรณาธิการอำนวยการหนังสือพิมพ์ข่าวสด
นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติธรรม
ดำเนินรายการโดย นายศราวุฒิ ประทุมราช คณะทำงานไทย ฯ
15.15 - 16.30
ประชุมกลุ่มย่อย

กลุ่มที่ 1 ความคาดหวังเกี่ยวกับการทำงานของผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR)

กลุ่มที่ 2 บทบาท (ความสัมพันธ์ระหว่างภาคประชาสังคมกับ AICHR) ในการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
กลุ่มที่ 3 ข้อเสนอแนะถึงกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนในอนาคตที่พึงประสงค์ใน การดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่ประชาคมอาเซียน (5 ปีข้างหน้า)
16.30 - 17.00 นำเสนอผลการสัมมนากลุ่มย่อย

17.00 - 17.30 อภิปราย สรุปการสัมมนา และปิดการประชุม
โดย ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี คณะทำงานไทยฯ

พิธีกรตลอดรายการ โดย คุณเรืองรวี เกตุผล พิชัยกุล





แบบตอบรับเข้าร่วมสัมมนา
“คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกับการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนในภูมิภาค”

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2552 เวลา 12.30 – 17.30 น.
ณ ห้องประชุมนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา


ชื่อ สกุล .......................................................................................................................................................
องค์กรที่สังกัด (ถ้าสังกัดองค์กร) .......................................................................................................................
ที่อยู่ ....................................................................................................................................................โทรศัพท์..................................................................
โทรสาร
.......................................................................................................................................................

สนใจเข้าร่วมกลุ่มย่อยที่ ..........

รายชื่อผู้ประสงค์จะเข้าร่วมสัมมนาเพิ่มเติม (ไม่จำกัดจำนวน)
1. ......................................................................... สนใจเข้าร่วมกลุ่มย่อยที่ ..........
2. ......................................................................... สนใจเข้าร่วมกลุ่มย่อยที่ ..........
3. ......................................................................... สนใจเข้าร่วมกลุ่มย่อยที่ ..........
4. ......................................................................... สนใจเข้าร่วมกลุ่มย่อยที่ ..........
5. ......................................................................... สนใจเข้าร่วมกลุ่มย่อยที่ ..........


ติดต่อยืนยันที่
อนุชา 02 – 275 4231, 087 - 106 5808
ศันสนีย์ 081 - 862 8614
บุญแทน 081 – 866 2136
โทรสาร 02 -275 4230
อีเมล์ twg_hrmechanism@yahoo.com



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
news
http://net209.blogspot.com/ net9
http://parent-youth.blogspot.com/ parent-youth.net
http://parent-net.blogspot.com/ parent
http://netnine.blogspot.com/  science

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก