วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2552 เวลา 12.30 - 17.30 น. ณ ห้องประชุมนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา

โครงการ สัมมนา เรื่อง
“คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียน
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค”
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2552 เวลา 12.30 – 17.30 น.
ณ ห้องประชุมนราธิป  กระทรวงการต่างประเทศ  ถนนศรีอยุธยา
 
 
 
                        กว่า 40 ปีนับจากการก่อตั้ง อาเซียนในปัจจุบันเป็นองค์กรที่มีสถานะทางกฏหมายรองรับเช่นเดียวกับองค์กรระดับภูมิภาคอื่นๆ เมื่อ 10ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ให้สัตยาบันกฏบัตรอาเซียนในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 13ที่ประเทศสิงคโปร์
 
                        แถลงการณ์ร่วมของผู้นำอาเซียนที่ประเทศสิงคโปร์ ย้ำว่า “การลงนามรับรองปฎิญญาอาเซียน เป็นเสมือนการปักหมุดทางประวัติศาสตร์สำหรับอาเซียน แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นร่วมกันที่มีต่อการพัฒนาประชาคมอาเซียนให้เป็นภูมิภาคแห่งสันติภาพ เสถียรภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ร่วมกันก้าวไปสู่ความเจริญทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม”ผู้นำอาเซียนยังยืนยันว่า “เรายังคงมุ่งมั่นจะสร้างอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เป็นอาเซียนที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน และยินดีสนับสนุนความพยายามที่จะสถาปนากระบวนการปรึกษาหารือระหว่างผู้นำและภาคอื่นๆของสังคม โดยมีสำนักงานเลขาธิการอาเซียนอำนวยความสะดวก อาเซียนยินดีรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกลุ่มต่างๆ จากภาคประชาสังคม กับเห็นความจำเป็นที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจและความพยายามในการสร้างชุมชนอาเซียนที่ให้ความ สำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีและการดำรงชีพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสต่างๆในสังคม การส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสิทธิมนุษยชน...”
 
                        แถลงการณ์ฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้นำอาเซียนในการสร้าง “อาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง”และ การขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่ “อาเซียนที่เป็นประชาธิปไตย”มุ่งมั่นในหลักธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชน การระบุให้มีองค์กรสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคถือเป็นการก้าวย่างสำคัญของอาเซียน ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนครั้งล่าสุด เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ได้มีการรับรอง Terms of Reference (TOR) ที่เสนอโดยคณะผู้แทนระดับสูง (High Level Panel) เพื่อการจัดตั้ง “คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights-AICHR)    ทั้งนี้จะได้มีการแถลงการณ์จัดตั้งคณะกรรมาธิการฯ นี้อย่างเป็นทางการในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำรัฐอาเซียน (ASEAN Summit) ในเดือนตุลาคมศกนี้
 
                        อย่างไรก็ดี ยังมีความเห็นที่หลากหลายต่อบทบาทและภารกิจของ คณะกรรมาธิการฯ ที่จะจัดตั้งขึ้น และมีประเด็นห่วงกังวลในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการสรรหาผู้แทนในบรรดาประเทศสมาชิก ความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง อำนาจในการติดตาม ตรวจสอบ และจัดทำรายงานสิทธิมนุษยชน รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของ คณะกรรมาธิการฯ นี้ เป็นอย่างยิ่ง
 
                        เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับกลไกสิทธิมนุษยชน และเพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับการดำเนินงานและอนาคตของคณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าว คณะทำงานไทยเพื่อการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคอาเซียน เห็นความจำเป็นที่จะต้องติดตามและนำเสนอข้อคิดเห็นที่สร้างสรรค์ดังเช่นที่ได้ดำเนินการมาตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาในการผลักดันให้มีกลไกสิทธิมนุษยชนนี้ จึงดำริจัดการสัมมนาร่วมกับกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และองค์กรเครือข่าย โดยคณะทำงานฯ คาดหวังว่าการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เชี่ยวชาญและผู้สนใจจากสาขาที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากภาคประชาสังคม และประชาชน รวมถึงผู้แทนจากอาเซียนและภาครัฐ จะนำมาซึ่งข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และจะนำพาอาเซียนไปสู่ความเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชน

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
news
http://net209.blogspot.com/ net9
http://parent-youth.blogspot.com/ parent-youth.net
http://parent-net.blogspot.com/ parent
http://netnine.blogspot.com/  science

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก