การประชุมวิชาการ เรื่อง "ดนตรีพิธีกรรม" (29 October, 2009 To 29 October, 2009) |
โครงการประชุมทางวิชาการเรื่อง &ldquo ดนตรีพิธีกรรม&rdquo เนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๕ ปีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการจัดงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๗ ๑. รายละเอียดโครงการ (Download โครงการ) หลักการและเหตุผล ดนตรีไทยเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่เกิดจากการสั่งสมภูมิปัญญาของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน จำแนกออกเป็น ๒ ประเภท ประเภทแรกดนตรีประกอบการแสดง (Theatrical music) และดนตรีเพื่อความบันเทิง (Entertainment music) ประเภทที่สองดนตรีพิธีกรรม (Ritual music) คือดนตรีที่บรรเลงในพิธีกรรมต่างๆ ประกอบด้วยดนตรีพิธีกรรมในราชสำนัก ได้แก่ ดนตรีพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ดนตรีพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน ดนตรีพระราชพิธียามประสูติ ฯลฯ ดนตรีพิธีกรรมของประชาชนทั่วไปและดนตรีพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ ดนตรีพิธีกรรมเทศน์มหาชาติ ดนตรีพิธีกรรมทอดกฐิน ดนตรีพิธีกรรมอุปสมบท ดนตรีพิธีกรรมรำผีมอญ ดนตรีพิธีกรรมแก็ลมอ ดนตรีพิธีกรรมกงเต็ก เป็นต้น ดนตรีประกอบการแสดงและดนตรีเพื่อความบันเทิงเป็นดนตรีที่มีการเรียนรู้และบรรเลงกันอย่างกว้างขวางไม่มีขีดจำกัด การอนุรักษ์และพัฒนาทำได้โดยง่าย แต่ดนตรีพิธีกรรมนั้นมีข้อจำกัดในการศึกษาและสืบทอด เนื่องจากมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับความลี้ลับเหนือธรรมชาติ ทำให้เกิดความหวาดเกรง ไม่กล้าเรียนรู้ ซึ่งเป็นสาหตุสำคัญที่ทำให้มรดกทางวัฒนธรรมด้านดนตรีพิธีกรรมรวมทั้งวัฒนธรรมด้านพิธีกรรมสูญหายได้โดยง่าย เนื่องมาจากความไม่เข้าใจในความเป็นมาอันเป็นแก่นสารที่แท้จริงของพิธีกรรมและดนตรีพิธีกรรมนั้นๆ ในวาระครบรอบ ๗๕ ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในโอกาสที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานดนตรีไทยอุดมศึกษาครั้งที่ ๓๗ ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะจัดประชุมทางวิชาการเรื่องดนตรีพิธีกรรม ประกอบด้วยการบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการและนักศึกษา และการสาธิตดนตรีพิธีกรรมของภูมิภาคและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย วัตถุประสงค์ ๑. ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและการเรียนรู้เกี่ยวกับดนตรีพิธีกรรมของไทยและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆิ ๒. เป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ ๗๕ ปีของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มเป้าหมาย นักวิชาการและนิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการอิสระและผู้สนใจทั่วไป จำนวนประมาณ ๑๐๐ คน
วัน เวลา สถานที่ - กำหนดส่งบทความ ภายในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ - แจ้งผลการพิจารณาบทความ วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๒ - การประชุมทางวิชาการ วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ ณ อาคารยิมเนเซี่ยม ๑ (สถาบันพัฒนา SME เดิม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ผู้รับผิดชอบโครงการ สถาบันไทยคดีศึกษา และสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑. กระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับดนตรีพิธีกรรมของไทย ๒. เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ ๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือในระหว่างสถาบันอุดมศึกษา นักวิชาการ และนักศึกษาจากภูมิภาคต่างๆ ๒. รายละเอียดประกอบการเสนอผลงานวิชาการ ๑. หัวข้อเรื่องในการเสนอผลงานวิชาการ ๑.๑ ดนตรีพิธีกรรมในราชสำนัก ๑.๒ ดนตรีพิธีกรรมของประชาชน ได้แก่ ๑.๒.๑ ดนตรีพิธีกรรมในภูมิภาค ๑.๒.๒ ดนตรีพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย ๒. รูปแบบการนำเสนอผลงาน ๒.๑ การบรรยายประกอบภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ความยาวไม่เกินเรื่องละ ๒๐ นาที ๒.๒ การบรรยายประกอบการสาธิต ความยาวไม่เกินเรื่องละ ๓๐ นาที
๓. คุณสมบัติของผู้เสนอผลงาน นักวิชาการและนักศึกษาระดับปริญญาโท/เอกในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
๔. วิธีการเสนอผลงาน ๔.๑ ผู้ประสงค์จะนำเสนอผลงานวิชาการ โปรดส่งหลักฐานดังนี้ - แบบฟอร์มนำส่งบทความ (download) - บทคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษ ความยาวอย่างละไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A๔ จำนวน ๒ ชุด พิมพ์ด้วยระบบไมโครซอฟเวิร์ด ตัวอักษร Angsana New ขนาด ๑๖ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เว้นบรรทัด (Single-spacing) - บทความฉบับสมบูรณ์ ขนาดความยาว ๑๕-๒๐ หน้ากระดาษ A๔ (ไม่นับรวมภาพ) จำนวน ๒ ชุด พิมพ์ด้วยระบบไมโครซอฟเวิร์ด ตัวอักษร Angsana New ขนาด ๑๖ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เว้นบรรทัด (Single-spacing) - ซีดีไฟล์ข้อมูล ๑ ชุด ๔.๒ กรณีการนำเสนอผลงานด้วยการบรรยายประกอบการสาธิต กรุณาแสดงรายละเอียดการสาธิต เช่น งบประมาณและแหล่งทุน จำนวนคนทั้งผู้เสนอและผู้สาธิต (ไม่เกิน ๒๕ คน) จำนวนเงินที่ประสงค์จะขอรับความสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกและจัดสรรงบประมาณสนับสนุนตามความเหมาะสม ๔.๓ บทความที่เสนอต้องไม่เคยนำเสนอในที่ประชุมหรือตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน ๔.๔ บทความของนักศึกษาต้องได้รับการลงนามรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา ๔.๕ การอ้างอิงใช้ระบบนาม-ปี ระบุชื่อผู้แต่งตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ปีที่พิมพ์และเลขหน้า ตัวอย่าง (วุฒิชัย จำนงค์, ๒๕๒๓: ๓) ๔.๖ การเขียนบรรณานุกรมใช้ระบบ APA (American Psychological Association) เรียงลำดับอักษรตามแบบพจนานุกรม (โปรดดูตัวอย่างแนบ) ๔.๗ ผู้ประสงค์จะนำเสนอผลงานวิชาการสามารถส่งบทความได้ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ วันที่ส่งบทความถือเอาวันที่ประทับตราไปรษณียากรนำส่งเป็นหลัก ๔.๘ การส่งบทความกรุณาส่งแบบลงทะเบียน จ่าหน้าซองถึง คณะกรรมการฝ่ายวิชาการงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๗ งานบริหารสำนักงานท่าพระจันทร์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลขที่ ๒ ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง กทม ๑๐๒๐๐ ๔.๙ การคัดเลือกบทความใช้ระบบการตรวจสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญในสาขา (Peer Review) ๔.๑๐ คณะกรรมการจะแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้เสนอบทความทุกท่านทาง e-mail หรือโทรศัพท์ ภายในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๒ และจะส่งหนังสือตอบรับอย่างเป็นทางการโดยทาง e-mail หรือไปรษณีย์ด้วย ๔.๑๑ คณะกรรมการสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ส่งคืนเอกสารและซีดีทุกชิ้น ๔.๑๒ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ e-mail: generaltu@yahoo.com ๓. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม ๑. หนังสือ ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์. ตัวอย่าง บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, ม.ล. (๒๕๒๗). ความสำเร็จและความล้มเหลว. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์. ๒. บทความวารสาร ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้า.ตัวอย่าง วิไลรัตน์ ยังรอด. (๒๕๔๑). เส้นแสงฤดูกาลในงานจิตรกรรมฝาผนัง. เมืองโบราณ, ๓(๒๔), ๗๒-๗๗. ๓. บทความในหนังสือพิมพ์ ชื่อผู้เขียนบทความ. (วันที่ เดือน ปี). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้า. ตัวอย่าง คึกฤทธิ์ ปราโมช,ม.ร.ว. (๑๒ มกราคม ๒๕๓๗) ข้าวไกลนา. สยามรัฐ, หน้า๓.ในกรณีไม่ทราบชื่อผู้เขียนบทความให้ลงรายการดังนี้ ชื่อบทความ. (วันที่ เดือน ปี). ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้า. ริมฝั่งแม่น้ำมูล ความขัดแย้งที่ยังไม่จบสิ้น. (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๓๗) มติชน, หน้า ๒๑.
๔. วิทยานิพนธ์ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์, สาขาวิชา คณะมหาวิทยาลัย ตัวอย่าง ทวีศักดิ์ เผือกสม. (๒๕๔๐). การปรับตัวทางความรู้ ความจริง และอำนาจของชนชั้นนำสยาม พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๔๑๑. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๕. แหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์) ชื่อบทความ (ถ้ามี), ชื่อเรื่อง. [ประเภทของแหล่งข้อมูล] แหล่งที่มา: ชื่อแหล่งที่ให้บริการบนอินเตอร์เน็ต. วันเดือนปีที่สืบค้นข้อมูล. ตัวอย่าง Daniel, R.T. (1995). The History of Western Music, In Britannica Online: Macromedia.[Online] Available: http://www.ed.com.DocF=macro/5004/45/0.html.1995, June 14. |
http://www.tuasso.com/scripts/tuschedule.asp |
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ http://newsblog9.blogspot.com/http://bloghealth99.blogspot.com/http://labour9.blogspot.com/ http://www.ksmecare.com/docSeminar/520902031848987.pdfhttp://www-01.ibm.com/software/th/events/lotusliveevent/ http://www.mict4u.net/thai/http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htmhttp://www.agkmstou.com/2008/index.php http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น